Spinal Injury Fast Track รับมือกลุ่มผู้ป่วยอุบัติเหตุด้านกระดูกสันหลัง

 

รพ. กรุงเทพ รับมือกลุ่มผู้ป่วยอุบัติเหตุด้านกระดูกสันหลังและไขสันหลัง ตั้ง Spinal Injury Fast Track พร้อมทีมแพทย์สหสาขาดูแล รักษาผู้ป่วยแบบองค์รวม

 

          อุบัติเหตุนำมาซึ่งการบาดเจ็บ การสูญเสียชีวิต หรือความพิการ แน่นอนว่าไม่มีใครต้องการให้เกิดขึ้นกับตนเอง คนในครอบครัว หรือแม้แต่คนรู้จัก โดยเฉพาะอุบัติเหตุที่ส่งผลถึงการบาดเจ็บที่เกี่ยวกับกระดูกและไขสันหลัง เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาโดยตลอดและรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะการบาดเจ็บบริเวณกระดูกสันหลังและไขสันหลัง(Spinal Cord Injury) โรงพยาบาลกรุงเทพ ร่วมรณรงค์เนื่องในวัน Trauma Day เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในความพร้อมของทีมแพทย์ พยาบาลสหสาขา และเทคโนโลยีในการตรวจรักษาผู้ป่วยที่ทันสมัย และรับมือกับอุบัติเหตุฉุกเฉินทุกรูปแบบ พร้อมแนะวิธีการช่วยดูแลรักษาผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บอย่างถูกวิธี ช่วยเพิ่มโอกาสรอดชีวิตและลดความสูญเสียในช่วง 7 วันอันตราย

 


ทีมแพทย์ Trauma Day 2017

 

                นพ.เอกกิตติ์ สุรการ ผู้อำนวยการอาวุโส แผนกฉุกเฉินและศูนย์อุบัติเหตุกรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพกล่าวถึง สถิติข้อมูลอุบัติเหตุล่าสุด(วันที่22 พ.ย. 60) ของ ศูนย์ข้อมูลอุบัติเหตุ เพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนน พบว่า ประเทศไทยมีสถิติผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนสูงเป็นอันดับต้นๆ ของโลก มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุ 13,424 คน บาดเจ็บ 884,494 คน รวมทั้งสิ้น 897,918 คน  โดยวันอาทิตย์สัปดาห์ที่ 3 ของเดือนพฤศจิกายนของทุกปี กำหนดเป็นวันโลกรำลึกถึงผู้สูญเสียจากอุบัติเหตุทางถนน (World Day of Remembrance for Road Traffic Victims) ตามหัวข้อที่องค์การอนามัยโลกกำหนด โดยมีประเด็นหลักว่า "เป้าหมายปี 2563 ลดการเสียชีวิตและการบาดเจ็บที่รุนแรงจากอุบัติเหตุทางถนนลง 50 เปอร์เซ็นต์" เพื่อเป็นการกระตุ้นเตือนให้ทุกๆ ภาคส่วนตระหนักถึงสภาพปัญหา ความสูญเสีย และผลกระทบจากอุบัติเหตุทางถนน รวมถึงแสดงถึงความมุ่งมั่นในการรวมพลังและส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนร่วมกันลดอุบัติเหตุทางถนนอย่างจริงจังตามเป้าหมายที่กำหนด และเพื่อให้สอดรับกับเป้าหมายของประเทศไทยในการพัฒนาประเทศตามนโยบาย Thailand 4.0 

 


 

          ขณะที่สถิติผู้ป่วยอุบัติเหตุที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลกรุงเทพ ปรากฎว่ามีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นในแต่ละปี โดยแต่ละเคสมีความซับซ้อนของการบาดเจ็บในหลายอวัยวะ ต้องใช้ทีมแพทย์สหสาขาในการรักษา การเกิดอุบัติเหตุแต่ละครั้ง วิธีการช่วยเหลือและรักษาผู้ป่วยมีความแตกต่างกัน มีการประเมินความปลอดภัยของสถานที่เกิดเหตุว่าอาจเกิดอุบัติเหตุซ้ำได้หรือไม่ และการสังเกตอาการของผู้บาดเจ็บในเบื้องต้นเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อวางแผนการเคลื่อนย้ายและดูแลได้อย่างปลอดภัยตามมาตรฐานการดูแลผู้บาดเจ็บ ก่อนนำส่งยังสถานพยาบาลที่มีความพร้อมอย่างรวดเร็ว ช่วยลดอัตราการเสียชีวิต และความพิการ โรงพยาบาลกรุงเทพมีความพร้อมด้านเวชศาสตร์ฉุกเฉิน ด้วยทีมแพทย์เฉพาะทาง และทีมสหสาขาวิชาชีพพร้อมให้การดูแลอย่างต่อเนื่อง สามารถให้การดูแลรักษาผู้บาดเจ็บที่ซับซ้อน รุนแรง หรือมีการบาดเจ็บในหลายอวัยวะ เช่น สมอง กระดูก ไขสันหลังและอวัยวะภายในช่องอก ช่องท้อง รวมถึงภาวะแทรกซ้อนจากสาเหตุอื่นๆ  โดยศูนย์อุบัติเหตุกรุงเทพ (Bangkok Trauma Center) เป็นศูนย์กลางในการประสานงาน และอำนวยความสะดวกในการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ รวมทั้งการรับ-ส่งต่อผู้ป่วยทั้งทางบก และทางอากาศ พร้อมรับแจ้งเหตุตลอด 24 ชั่วโมง ที่เบอร์โทร  1724 หรือ 1719  เพราะสิ่งสำคัญในการเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บคือ ความปลอดภัย

 


 

           นายแพทย์สาริจฉ์ ศรีสุภาพ ผู้อำนวยการสถาบันโรคกระดูกสันหลังกรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพ กล่าวถึง ไขสันหลังเป็นโครงสร้างหนึ่งของระบบประสาทส่วนกลางซึ่งต่อเนื่องลงมาจากก้านสมอง การบาดเจ็บไขสันหลัง คือ อาการบาดเจ็บไขสันหลังรวมถึงรากประสาทที่อยู่ในโพรงของกระดูกสันหลัง ซึ่งการบาดเจ็บนี้มีโอกาสที่จะทำให้เกิดอัมพาตขึ้นกับผู้ป่วยได้ สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่ที่พบได้บ่อยคือเกิดจากอุบัติเหตุทั้งบนถนนหรือพลัดตกหกล้มจากที่สูง สถาบันโรคกระดูกสันหลังกรุงเทพ ร่วมกับศูนย์อุบัติเหตุกรุงเทพ รพ.กรุงเทพ สำนักงานใหญ่ จัดทำ Spinal Injury Fast Track โดยวัตถุประสงค์เพื่อให้ เกิดความพร้อม ในทุกๆ ฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุทางด้านกระดูกสันหลังและไขสันหลัง เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ครบถ้วนและไม่ติดขัด เปรียบได้กับการเกิดช่องทางด่วนเพื่อให้รถฉุกเฉิน ได้เข้าทำการรักษาผู้ป่วยโดยสะดวกและรวดเร็ว โดยความหมายของ Spinal Injury Fast Track  คือ code หรือสัญญาณภายในโรงพยาบาลกรุงเทพ เพื่อให้เกิดความเข้าใจร่วมมือกันของบุคลากร ตลอดจนแพทย์ที่เกี่ยวข้องในการดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาอุบัติเหตุทางกระดูกสันหลังและไขสันหลัง โดยจะให้ลำดับความสำคัญเหนือกว่าภาวะปกติ

              โดยบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับปัญหาอุบัติเหตุทางกระดูกสันหลังและไขสันหลังประกอบไปด้วย แพทย์ผู้ชำนาญการด้านกระดูกสันหลังและไขสันหลัง ศัลยแพทย์ฉุกเฉิน อายุรแพทย์ (ในกรณีที่ผู้ป่วยมีโรคประจำตัว) อุปกรณ์เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ เครื่องมือในการทำผ่าตัด ตลอดจนบุคลากรที่เกี่ยวข้องทุกๆฝ่าย เพื่อทำให้เกิดความพร้อมในการให้การรักษาที่มีมาตรฐาน ตลอดจนการผ่าตัดผู้ป่วยในกรณีที่จำเป็น การทำการผ่าตัดจะกระทำเมื่อทุกอย่างพร้อม นั่นคือ1.ผู้ป่วยจะต้องถูกเตรียมพร้อม โดยทีมแพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน อายุรแพทย์ ในกรณีที่ผู้ป่วยมีโรคประจำตัว เพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ผู้ป่วยสูงสุด 2. ความพร้อมในส่วนของโรงพยาบาล ผู้ป่วยจะได้รับการตรวจเอกซเรย์ CT Scan หรือ MRI โดยละเอียด บุคลากรในห้องแล็บ และธนาคารเลือด จะจัดเตรียมความพร้อมอย่างครบถ้วน บุคลากรในห้องผ่าตัด จะจัดเตรียมอุปกรณ์ทำการผ่าตัด โดยให้ลำดับความสำคัญของผู้ป่วยอุบัติเหตุทางกระดูกสันหลังก่อน เมื่อทุกอย่างพร้อม ผู้ป่วยก็จะได้รับการรักษา โดยการผ่าตัด ตามที่ศัลยแพทย์วางแผนการรักษาไว้

           การประเมินอาการของผู้บาดเจ็บ จะใช้การประเมินตามรูปแบบของ American Spinal Injury Association (ASIA) โดยมีการประเมินแบ่งเป็น 3 ส่วนคือ 1.การตรวจระบบประสาทสั่งการ เพื่อประเมินระดับกำลังของกล้ามเนื้อมัดหลัก ข้างละ 10 มัด ทั้ง 2 ข้างของร่างกายในท่านอนหงาย 2.การตรวจระบบประสาทรับความรู้สึกส่วนที่เลี้ยงด้วยเส้นประสาทไขสันหลังทั้ง 2 ข้างของร่างกาย 3.การตรวจทวารหนัก เพื่อประเมินการทำงานของประสาท ของผู้ป่วยว่ายังสามารถควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนักได้หรือไม่ ในกรณีที่มีการกดทับไขสันหลังหรือกระดูกสันหลังแตก หัก เคลื่อน ไม่มั่นคง จะเกิดการกดทับไขสันหลัง การรักษาที่เหมาะสม คือ แก้ไขการกดทับ และยึดตรึงให้กระดูกสันหลังมั่นคง ไม่กลับมากดทับไขสันหลังซ้ำอีก   ผู้ป่วยจะได้รับ การฟื้นฟูสมรรถภาพโดยไม่รอช้า เพื่อลดภาวะแทรกซ้อน 

 


 

             นายแพทย์พิพัฒน์ ชุมเกษียร แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลกรุงเทพ กล่าวว่า เส้นทางการร่วมดูแลรักษาฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลัง เริ่มต้นที่การเข้าถึงบริการฟื้นฟูสมรรถภาพตั้งแต่ระยะวิกฤตในไอซียู ต่อเนื่องถึงหอผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกจนถึงการดูแลที่บ้าน เพื่อให้ผู้ป่วยมีความสามารถในการพึ่งตนเองได้มากที่สุดในการทำกิจวัตรประจำวันหรือกลับเข้าทำงานประกอบอาชีพ  กระบวนการฟื้นฟูสมรรถภาพประกอบด้วย 1.การดูแลและจัดการให้กระดูกสันหลังมีความมั่นคงแข็งแรง spinal stability โดยการใช้อุปกรณ์พยุงเสริมความแข็งแรงของกระดูกสันหลัง spinal orthosis  2. การฟื้นฟูสมรรถภาพด้านระบบประสาทและกล้ามเนื้อFunctional recovery training เช่นการทำกายภาพ กระตุ้นไฟฟ้า ออกกำลังกาย ฝึกนั่งยืนเดินโดยใช้เครื่องพยุงกระดูกสันหลังและข้อเท้าข้อเข่า 3. การป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น แผลกดทับ ข้อติดเสมหะค้างในปอดหรือสำลักทำให้ปอดอักเสบ 4. การส่งเสริมให้ผู้ป่วยกลับไปทำงานใหม่ตามศักยภาพของตนเอง Return to work as work functional capacity 

              ศูนย์อุบัติเหตุกรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพ มีทีมแพทย์เฉพาะทางสหสาขาที่มีประสบการณ์ประจำโรงพยาบาลตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อให้มั่นใจได้ว่าผู้ป่วยประสบอุบัติเหตุหนักจะได้รับการรักษาที่เหมาะสมและมีผลการรักษาเป็นที่น่าพอใจ พร้อมให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วย ทั้งก่อนการรักษาหรือผู้ป่วยที่ได้รับการรักษามาแล้ว โดยแพทย์เฉพาะทาง เพราะแต่ละวินาทีที่ผ่านไปอาจหมายถึงชีวิต หรือความพิการของผู้บาดเจ็บ สามารถแจ้งเหตุตลอด 24 ชั่วโมง ที่เบอร์โทร. 1724 หรือ 1719

 

 

 

More
แพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกสันหลัง เผย “รักษาที่ต้นเหตุ” หายอย่างยั่งยืน
‘RSV’ โรคที่ผู้ใหญ่ก็เป็นได้
ตาพร่ามัว...อย่าชะล่าใจ หมอตาเตือนคนวัยทำงานอายุ 30+ ระวังเบาหวานขึ้นจอตา ภัยเงียบที่คุกคามสายตาจากโรคเบาหวาน
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการผ่าตัดรักษาโรคอ้วน โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ประสบความสำเร็จในการรักษาโรคอ้วนทุพพลภาพ สกัดโรคเรื้อรั...
รพ.สมเด็จพระยุพราชปัว จ.น่าน เปิดให้บริการศูนย์ผ่าตัดผ่านกล้องเฉพาะทางและผ่าตัดส่องกล้องรักษาโรคอ้วน
Others
A Bad Moms Christmas คริสต์มาสป่วนแก๊งค์แม่ชวนคึก
บู๊ทส์ แนะนำ มาร์ค ฮิลล์มิราคอยลัส(MARK HILL MIRACOILOUS) ผลิตภัณฑ์ดูแลและบำรุงเส้นผม ที่ผสานคุณค่าจากส่วนผสมชั้นเลิศระด...
เลย์ กลิ่นฮันนี่บัตเตอร์” และ “เลย์กลิ่นป๊อปคอร์น คาราเมล” 2 ปรากฏการณ์“ความหวาน” ผสานความกรอบอร่อยจาก “เลย์”
ไบร์ท - ตู ถ่ายทอดดีเอ็นเอของแบรนด์ AMI ผ่านคอลเล็กชัน Fall/Winter 2024 ณ ป็อปอัพสโตร์ สยาม พารากอน
ANYTIME FITNESS ขยายสาขาในประเทศไทย เดินทางสู่การมีสุขภาพดีได้ง่ายกว่าที่เคย
Latest
“นฤมิตไพรด์” ปักหมุด! กลางกรุงฯ จัด-จดสมรสเท่าเทียม
กทพ. ขอขอบคุณ “นักวิ่ง” ทั้งคนไทยและชาวต่างชาติทุกคน ที่ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรมเดิน-วิ่งลอยฟ้า และร่วมบันทึกภาพประว...
กทพ. สร้างประวัติศาสตร์! รวมพลังมวลชนเดิน-วิ่งลอยฟ้าสะพานทศมราชัน บันทึกความทรงจำโอกาสพิเศษเดียวในชีวิตนักวิ่ง
The Little Prince Universe – An Immersive Journey เปิดตัวแล้วพร้อมไฮไลท์ประสบการณ์สร้างแรงบันดาลใจแบบจัดเต็ม!
Rock Mountain 2025 ตามล่าหาสมบัติ…กับประสบการณ์ดนตรีร็อกที่ยากจะลืม!!

 

 

Top Hits
“พีพี กฤษฏ์” ขึ้นแท่นพรีเซนเตอร์นมพิสทาชิโอแบรนด์ ซันคิสท์ แบรนด์ระดับโลก พร้อมร่วม ครีเอทเมนูสุดพิเศษด้วยนมพิสทาชิโอที่...
มัดรวมภาพประทับใจจากงาน เนสกาแฟ โกลด์ เครมมา คอลแลปส์ แจ็คสัน หวัง เนรมิต “เดอะ ไฟน์เนส แมนชั่น”
Za DEEP HYDRATION ผิวเปล่งปลั่งอิ่มน้ำมีประกาย สวยตั้งแต่วินาทีนี้
ลดอาการปวดเมื่อยด้วย “ท่านอนที่ถูกวิธี”
“เก้า - สุภัสสรา” ชวนช้อปสนุกสุดฟิน กับบัตรเครดิต เซ็นทรัล เดอะวัน สิทธิพิเศษเหนือระดับ ครอบคลุมทุกไลฟ์สไตล์ ที่ศูนย์กา...
Bruce Jenner ตัดสินใจเป็นผู้หญิงในวัย 65 ปี
10 อันดับอาหารคอเลสเตอรอลสูง