เช็ค 5 สัญญาณเสี่ยงโรคต้อกระจก เลี่ยงภาวะตาบอด

 

การเตรียมพร้อมเข้าสู่วัยเกษียณด้วยการดูแลและตรวจสุขภาพอย่างเป็นประจำ นับเป็นสิ่งที่จำเป็นและส่งผลดีอย่างยิ่ง เนื่องจากภาวะเสื่อมถอยของร่างกายก็อาจเป็นบ่อเกิดของภาวะเสี่ยงต่อสุขภาพที่มากมาย

 

รวมไปถึงโรคต้อกระจกซึ่งเป็นปัญหาทางสายตาที่พบได้มากในกลุ่มวัยเกษียณ ซึ่งหากปล่อยไว้อาจกลายเป็นสาเหตุของภาวะตาบอดได้ จากการสำรวจพบว่ามีจำนวนถึง 42% ของผู้มีภาวะตาบอดมีสาเหตุมาจากภาะวะต้อกระจก

 


พ.ต.อ.นายแพทย์ คำนูณ อธิภาส จักษุแพทย์ นวตา จักษุคลินิก

 

พ.ต.อ.นายแพทย์ คำนูณ อธิภาส จักษุแพทย์ กล่าวว่า โรคต้อกระจกมักมาพร้อมกับอายุมากที่ขึ้น นับเป็นความเสื่อมอย่างหนึ่งเกี่ยวกับร่างกายเรา โดยเป็นการเปลี่ยนแปลงของเลนส์แก้วตาที่ช่วยในการมองเห็นซึ่งจะมีลักษณะตัวเลนส์ที่นิ่มมากเมื่ออยู่ในวัยเด็กแต่เมื่อเริ่มมีอายุที่มากขึ้น เลนส์แก้วตาจะค่อยๆ แข็งขึ้น เกิดความไม่สม่ำเสมอ จนเกิดความขุ่นมัวในเนื้อเลนส์ และส่งผลต่อการมองเห็นมากขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนี้ยังสามารถเกิดจากปัจจัยอื่น ๆ ได้ เช่น ผลข้างเคียงจากการใช้ยา สารสเตียรอยด์ สารพิษ ประสบอุบัติเหตุ และ การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน อาทิ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน และ ไทรอยด์ 

โรคต้อกระจก จะค่อยๆ เกิดขึ้น โดยใช้ระยะเวลาในการเปลี่ยนแปลงของเลนส์ตาจนกระทั่งตาขุ่นมัว จึงอาจทำให้คนทั่วไปไม่ทันได้ตระหนักถึงอาการเริ่มต้นของโรคต้อกระจก ซึ่งส่งผลร้ายต่อการมองเห็นได้ ดังนั้นผู้ที่อยู่ในภาวะเสี่ยงอย่างผู้ที่เข้าสู่วัยเกษียณ หรือบุคคลใกล้ชิด จึงควรตรวจสอบตนเองรวมถึงบุคคลใกล้ตัวถึงอาการ 5 สัญญาณเสี่ยงโรคต้อกระจก ดังนี้

1. ตาค่อยๆ มัวลง อย่างช้าๆ โดยไม่มีอาการเจ็บปวดใดๆ  อาจเริ่มมีอาการที่มัวลงภายในช่วงเวลาสั้นเพียง 2 - 3 เดือน หรือถึงมากกว่า 10 ปีในบางราย 
2. สายตากลับ มีอาการเปลี่ยนแปลงด้านการมองเห็นอย่างเห็นได้ชัดเจน เช่น จากเดิมสายตายาวแล้วเปลี่ยนเป็นสายตาสั้น หรือเกิดสายตาเอียงขึ้น
3. เห็นแสงแตกกระจายเมื่อใช้สายตามองแสงแล้วจะเห็นมีลักษณะเป็นเส้นๆ เป็นแฉกๆ หรืออาจดูมีภาพซ้อน
4. ความสามารถในการมองเห็นในที่มืดลดน้อยลงต้องการแสงสว่างที่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะพบบ่อยๆ ในกลุ่มคนสูงวัยมากๆ 
5. ต้อกระจกบางชนิดจะมองเห็นในที่มืดชัดกว่าที่สว่างเนื่องจากมีความขุ่นมัวเฉพาะส่วนกลางของเลนส์ตา  ซึ่งในที่สว่างนั้นรูม่านตาจะมีขนาดเล็ก เวลาใช้สายตาก็จะมองผ่านเฉพาะส่วนที่ขุ่นมัวนั้น แต่ในที่มืดรูม่านตาจะขยายกว้างขึ้นการมองเห็นก็จะดีขึ้น มักพบในคนที่ป่วยเป็นโรคต้อกระจกจากผลกระทบของโรคเบาหวาน ใช้ยาสเตียรอยด์ด้วยการรับประทาน หรือหยอดตามาเป็นเวลานานๆ 

 


แพทย์ตรวจวินิจฉัยผู้ป่วยโรคต้อกระจก

 


หากมีอาการน่าสงสัยเพียงข้อใดๆ ข้อหนึ่ง ก็ควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการตรวจเช็คอย่างละเอียด และรับการรักษาได้อย่างทันท่วงที เนื่องจากความก้าวหน้าในทางการแพทย์ปัจจุบันที่สามารถรักษาผู้ป่วยได้อย่างหลากหลายรูปแบบ ทั้งการสวมแว่นตา การใช้ยาหยอดตาในกรณีที่ยังไม่มีอาการรุนแรงมาก รวมไปถึงการผ่าตัดเปลี่ยนเลนส์แก้วตา ที่ทำได้อย่างง่ายดายมากยิ่งขึ้น ดังเช่น การสลายต้อกระจกด้วยระบบอัลตราซาวน์ ที่ช่วยทำให้แผลผ่าตัดมีขนาดเล็กเพียง 2-3 มิลลิเมตร ผู้ป่วยจึงไม่ต้องใช้เวลาพักฟื้นนาน แผลสามารถสมานตัวเองได้อย่างรวดเร็ว  ซึ่งแตกต่างจากเดิมที่จะรักษาด้วยการผ่าตัดลอกต้อกระจกทำให้มีแผลใหญ่และยาวเกือบ 1 เซนติเมตร จนส่งผลให้แผลหายได้ช้าลง หรือมีการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น เฟมโตเซคเคินเลเซอร์ และนาโนเซคเคินเลเซอร์เข้ามาช่วยในการผ่าตัดร่วมด้วย


นอกเหนือจากการรักษาด้วยการผ่าตัดนั้น การเลือกใช้เลนส์แก้วตาเทียมสำหรับการผ่าตัดก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ผู้ป่วยควรให้ความสำคัญและมีความรู้เบื้องต้น เนื่องจากเลนส์แก้วตาเทียมมีหลากหลายชนิด ซึ่งผู้ป่วยสามารถเลือกใช้ให้เหมาะสมกับการลักษณะการใช้ชีวิตประจำวันหรือแม้แต่เหมาะกับปัญหาทางสายตาเดิมของตนเอง เช่น หากมีสายตาสั้นมากๆ เมื่อมีการผ่าตัด ก็จะสามารถใช้โอกาสนั้นเลือกใช้เลนส์แก้วตาเทียมชนิดหลายโฟกัส  ที่คำนวณค่าให้แสงตกโฟกัสให้ตรงจอประสาทตาพอดี จึงสามารถช่วยแก้อาการสายตาสั้นให้ดียิ่งขึ้นได้ หรือสายตาเอียงมากๆ อันมาจากผิวกระจกตาไม่กลม ก็สามารถใช้โอกาสการผ่าตัดนี้ในการเลือกเลนส์แก้วตาเทียม ที่สามารถชดเชยและแก้สายตาเอียงได้อีกด้วย

 


แพทย์ตรวจวินิจฉัยผู้ป่วยโรคต้อกระจก

 


"ผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี ถือเป็นกลุ่มเสี่ยงสำคัญต่อโรคเกี่ยวกับสายตาได้ง่าย จึงควรรับการการตรวจตาอย่างน้อยปีละครั้ง หรืออาจเข้ารับการตรวจที่เร็วขึ้นหากว่าอยู่ในกลุ่มความเสี่ยงอื่นๆ เช่น เป็นผู้ป่วยเป็นเบาหวาน และ ไทรอยด์ หรือใช้ยาสเตียรอยด์บ่อยครั้ง เป็นต้น ซึ่งหากรู้ปัญหาทางสายตาได้เร็ว รักษาได้ทันเวลา ก็จะช่วยให้ทุกคนสามารถถนอมสายตาให้อยู่คู่ไปกับเราได้อย่างยาวนานยิ่งขึ้น”พ.ต.อ.นายแพทย์ คำนูณ กล่าวเพิ่มเติม

 

 

 

 

More
ตาพร่ามัว...อย่าชะล่าใจ หมอตาเตือนคนวัยทำงานอายุ 30+ ระวังเบาหวานขึ้นจอตา ภัยเงียบที่คุกคามสายตาจากโรคเบาหวาน
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการผ่าตัดรักษาโรคอ้วน โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ประสบความสำเร็จในการรักษาโรคอ้วนทุพพลภาพ สกัดโรคเรื้อรั...
รพ.สมเด็จพระยุพราชปัว จ.น่าน เปิดให้บริการศูนย์ผ่าตัดผ่านกล้องเฉพาะทางและผ่าตัดส่องกล้องรักษาโรคอ้วน
เนสท์เล่เผยเทคนิคดูแลน้ำหนักตัวอย่างยั่งยืน คุมอาหารแบบแฮปปี้ กินได้ไม่ต้องอด
GSK เปิดผลสำรวจพบคนจำนวนมากขาดความรู้เกี่ยวกับ ‘ไวรัสอาร์เอสวี (RSV)’ ทั้งที่เป็นไวรัสที่อันตรายต่อสุขภาพของผู้สูงอายุ
Others
LINE TV ร่วมกับ ภาพดีทวีสุข นำทัพนักแสดง บวงสรวง LINE TV Originals “สู้ตาย!! นายกระจับ”
เบียร์ เดอะ วอยซ์ ขึ้นแท่นนางเอกสายฮาแห่งยุค “แจ๊ส ชวนชื่น” การันตี ในหนัง “สลัมบอยซอยตื๊ด”
เฮดไลน์ โซล’ อินเตอร์แนชั่นแนลแบรนด์ร่วมสมัยสุดฮอตจากเกาหลี
เป็นเจ้าของเรียวปากแมทท์ทนนานตลอดทั้งวัน ด้วย LIP VELVET CRUSH SHEER-MATTE STAIN และผิวสวยด้วย Fresh Glow Gel Stick lumi...
งานแข่งขันเรือยาวช้างไทย และเทศกาลริมน้ำ ช่วยเหลือช้างไทย ปิดฉากด้วยความสำเร็จอีกครั้ง
Latest
รับมือข่าวลวง! สังคมออนไลน์ทำคนลังเลฉีดวัคซีน เร่งเสริมความรู้ ป้องกันภัยข้อมูลเท็จ
คิง เพาเวอร์ ต้อนรับเทศกาลแห่งความสุขส่งท้ายปี เปิดแคมเปญ “THE POWER OF FUNTASTIC CELEBRATION 2025” ฉลองทุกความสุข สนุ...
ยูนิโคล่ จับมือ อันยา ไฮนด์มาร์ช ร่วมสร้างสรรค์ผลงานความสนุกสนาน ครั้งแรกในไทย กับคอลเลคชัน UNIQLO x ANYA HINDMARCH Win...
CDC ฉลองใหญ่ครบรอบ 15 ปี “CDC 15th Anniversary Golf Day” ชูบรรยากาศกอล์ฟสุดพิเศษ รวมตัวพ่อตัวมัมแวดวงธุรกิจ-การออกแบบกร...
“คิง เพาเวอร์” ขยายอาณาจักรค้าปลีกสู่ใจกลางเมือง เปิดตัวแบรนด์ใหม่ “คิง เพาเวอร์ ซิตี บูทีก” ที่สุดแห่งประสบการณ์ช้อปมิต...

 

 

Top Hits
“พีพี กฤษฏ์” ขึ้นแท่นพรีเซนเตอร์นมพิสทาชิโอแบรนด์ ซันคิสท์ แบรนด์ระดับโลก พร้อมร่วม ครีเอทเมนูสุดพิเศษด้วยนมพิสทาชิโอที่...
Za DEEP HYDRATION ผิวเปล่งปลั่งอิ่มน้ำมีประกาย สวยตั้งแต่วินาทีนี้
มัดรวมภาพประทับใจจากงาน เนสกาแฟ โกลด์ เครมมา คอลแลปส์ แจ็คสัน หวัง เนรมิต “เดอะ ไฟน์เนส แมนชั่น”
ลดอาการปวดเมื่อยด้วย “ท่านอนที่ถูกวิธี”
Bruce Jenner ตัดสินใจเป็นผู้หญิงในวัย 65 ปี
“เก้า - สุภัสสรา” ชวนช้อปสนุกสุดฟิน กับบัตรเครดิต เซ็นทรัล เดอะวัน สิทธิพิเศษเหนือระดับ ครอบคลุมทุกไลฟ์สไตล์ ที่ศูนย์กา...
10 อันดับอาหารคอเลสเตอรอลสูง