ไม่รับรู้รสชาติ...ปัจจัยเสี่ยงเป็นโรคอ้วน
category: Health
tag: eating Herbalife weightloss ลดน้ำหนัก Nutrient sensing system เฮอร์บาไลฟ์
ไม่ว่าจะในแวดวงการแพทย์หรือการรับรู้ของคนทั่วไป เราต่างเคยได้ยินถึงสาเหตุมากมายที่ทำให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคอ้วนในปัจจุบัน
ไม่ว่าจะเป็นเพราะปัจจัยด้านพันธุกรรม การอพยพหลั่งไหลของผู้คนเข้ามาในเมืองใหญ่ที่สามารถเข้าถึงร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดที่ตั้งเรียงรายนับไม่ถ้วน รวมถึงเมนูอาหารราคาถูกแต่ทำร้ายสุขภาพและมีแคลอรี่สูงที่วางขายกันทั่วไป ไหนจะพฤติกรรมในชีวิตประจำวันกับการนั่งแช่อยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ๆ และการเสพติดอุปกรณ์สื่อสารอีกล่ะ มิหนำซ้ำเด็กยุคใหม่ยังใช้เวลาทำกิจกรรมนอกบ้านน้อยลงเรื่อย ๆ และจมอยู่กับโลกออนไลน์แทบจะตลอดเวลาที่ลืมตาตื่นขึ้นมา
ปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้เป็นความจริงอยู่ไม่มากก็น้อย ทว่ายังมีอีกสาเหตุอีกประการของโรคอ้วนที่ไม่ค่อยได้รับการพูดถึงมากนัก แต่เป็นสิ่งที่เราทุกคนต่างสร้างขึ้นมาในระบบร่างกายของตนเอง นั่นคือ ปุ่มประสาทรับรสที่อยู่บริเวณลิ้น
นพ. ดร. เดวิด ฮีเบอร์ , M.D., Ph.D., F.A.C.P., F.A.S.N. ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านโภชนาการของเฮอร์บาไลฟ์ และประธานสถาบันโภชนาการเฮอร์บาไลฟ์
หากลองคิดง่าย ๆ แน่ล่ะว่าเป็นเหตุผลที่เข้าท่ามาก เนื่องจากปุ่มรับรสมีความสัมพันธ์กับอาหารที่เรารับประทานเข้าไปอยู่แล้ว โดยปุ่มรับรสเหล่านี้มีหน้าที่รับรู้และแยกแยะความแตกต่างของรสชาติอาหารนานาชนิด ทั้งเค็ม หวาน เปรี้ยว ขม หรือแม้กระทั่งรสอร่อยกลมกล่อมหรือรสอูมะมิ ปุ่มรับรสจะทำงานกันเป็นระบบที่เรียกว่า ระบบการรับรู้สารอาหาร (Nutrient sensing system)[1] และช่วยบ่งบอกว่าอาหารใดดูปลอดภัยหรือมีคุณค่าสารอาหารเหมาะสมเพียงพอที่จะบริโภคเข้าไปในร่างกาย ทั้งหมดนี้เป็นความเชื่อมโยงที่เราสามารถเห็นภาพได้อย่างชัดเจน
แต่เพียงเพราะรสชาติอาหารที่เรารับรู้จากต่อมรับรส ซึ่งบอกให้เรารู้ว่าเราชอบหรือไม่ชอบรสชาติหรืออาหารบางอย่างนั้น จะมีผลทำให้น้ำหนักตัวของบางคนเกินพิกัดจริงหรือไม่ หรือใครจะไม่ได้รับผลกระทบนี้?
การศึกษาวิจัยหลายฉบับตอบว่า “จริง” โดยนักวิจัยหลายคนพบว่า ผู้ป่วยโรคอ้วนอาจประสบปัญหาการรับรู้รสชาติได้น้อยลง[2] ซึ่งการค้นพบของพวกเขาได้สะท้อนให้เห็นว่า คนที่มีต่อมรับรสที่ด้านหรือไม่ไวมักจะมองหาอาหารที่มีปริมาณน้ำตาล เกลือ และไขมันสูงกว่าปกติ หรือบริโภคอาหารที่มีแคลอรี่มากขึ้นเพื่อจะได้รับรู้รสชาติเท่ากับคนทั่ว ๆ ไป
นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยอื่น ๆ[3] ที่ยืนยันข้อสันนิษฐานที่ว่า ความผิดปกติของปุ่มประสาทรับรสที่ลิ้นอาจทำให้เราบริโภคพลังงานมากเกินความต้องการและนำไปสู่โรคอ้วนได้ในที่สุด ยิ่งไปกว่านั้น ระบบการรับความรู้สึก เช่นการรับรู้รสชาติ ก็มีบทบาทสำคัญในการควบคุมและทำให้รู้สึกเพลิดเพลินกับการรับประทานอาหารด้วย ซึ่งสัมพันธ์โดยตรง[4] กับปริมาณการรับประทานที่เพิ่มขึ้น การรับรู้รสชาติได้น้อยลง และการเกิดโรคอ้วน
แล้วอย่างนี้ คนที่มีภาวะน้ำหนักเกินและมีปุ่มรับรสชาติเสื่อมจะหมดหวังเลยหรือไม่ คำตอบคือไม่หมดหวังแน่นอน เนื่องจากมีหลักฐานระบุว่า การรับรู้รสชาติจะเปลี่ยนแปลงไปหากเราปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารให้ดีขึ้น โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงการรับประทานเกลือและไขมัน
สำหรับผู้ที่มีหน้าที่คอยให้คำปรึกษาแก่ผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน การเข้าใจความแตกต่างของรสชาติจะช่วยให้เราเข้าใจสาเหตุของการที่น้ำหนักตัวเพิ่มได้ดียิ่งขึ้น และช่วยให้มองเห็นและเข้าใจภาพรวมของกระบวนการทำงานในร่างกายมนุษย์ รวมไปถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของแต่ละคนด้วย
ความรู้เหล่านี้จำเป็นสำหรับการทำความเข้าใจภาวะวิกฤติโรคอ้วนของเรา รวมทั้งสาเหตุที่ทำให้คนยังเป็นโรคอ้วนไปจนถึงวิธีการจัดการ ซึ่งเราต้องนำข้อมูลที่ได้มาใช้ประโยชน์ในการช่วยสร้างเสริมสุขภาพให้แข็งแรง และพัฒนาความเป็นอยู่และชีวิตของผู้คนในปัจจุบันให้ดีขึ้นไปพร้อมกัน
รายละเอียด www.facebook.com/HerbalifeThailandOfficial หรือ www.instagram.com/HerbalifeThailandOfficial
อ้างอิง
[1] http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S016378271530028X
[2] https://research.cornell.edu/news-features/obesity-could-it-be-taste-buds
[3] https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S016378271530028X
[4] https://herbalifenutritioninstitute.com/taste-and-smell/
|