ไซนัสรักษาได้ ด้วยการผ่าตัดส่องกล้อง

 

ไซนัสอักเสบ อาจเป็นปัญหากวนใจใครหลายคน เพราะเป็นโรคที่สามารถส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน มีผลต่อระบบทางเดินหายใจ

            การรักษาไซนัสอักเสบต้องอาศัยระยะเวลา บางชนิดอาจหาย แต่โอกาสกลับมาเป็นใหม่ก็มีสูงเช่นกัน ทางที่ดีคือการรีบไปพบแพทย์ตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อเข้ารับการรักษาอย่างถูกวิธี   

 


 

           รศ.นพ.ทรงกลด เอี่ยมจตุรภัทร ศัลยแพทย์ด้านโสต ศอ นาสิกวิทยา โรงพยาบาลกรุงเทพ กล่าวว่า การรักษาไซนัส ในปัจจุบันจะใช้กล้องผ่านทางช่องจมูกช่วยในการผ่าตัดเกือบทั้งหมด การใช้กล้องมาช่วยทำผ่าตัดไซนัสนั้น มีการใช้อย่างแพร่หลายไม่น้อยกว่า 30 ปี มีการพัฒนาทั้งอุปกรณ์และเทคนิคในการผ่าตัดมาตลอด จนปัจจุบันนอกเหนือจากใช้ในการผ่าตัดไซนัสแล้ว ยังใช้กล้องช่วยในการผ่าตัดโรคของอวัยวะข้างเคียงต่างๆ อีกมาก เช่น ผ่าตัดแก้ไขท่อน้ำตาส่วนล่างอุดตัน ผ่าตัดแก้ไขตาโปน ผ่าตัดลดแรงกดต่อเส้นประสาทตา ผ่าตัดซ่อมน้ำสมองรั่วเข้าโพรงจมูก - ไซนัส ผ่าตัดเนื้องอกของต่อมใต้สมอง และผ่าตัดเนื้องอกที่ฐานกะโหลกส่วนหน้า เป็นต้น การจะเข้ารับการผ่าตัดไซนัสแบ่งเป็น 2 กรณีคือ  1) กรณีที่จำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัด เช่น เป็นไซนัสอักเสบและมีโรคแทรกซ้อน มี 2 แบบ คือ อักเสบติดเชื้อลามเข้าไปในตาและอักเสบติดเชื้อลามเข้าไปในสมอง สงสัยว่าเป็นเนื้องอก ไซนัสอักเสบจากเชื้อรา ช่องเปิดไซนัสตันแล้วมีมูกคั่งในไซนัสเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ 2) กรณีที่จะผ่าตัด หมายถึงว่า ไม่จำเป็นต้องผ่าตัด แต่ก็น่าจะผ่าตัด โดยการผ่าตัดเป็นทางเลือกและได้ประโยชน์มากกว่าการไม่ผ่าตัด ในกรณีนี้ ได้แก่ ผู้ที่มีอาการของไซนัสอักเสบเรื้อรังหรือแบบเฉียบพลันที่เป็นๆ หายๆ หรือมีริดสีดวงจมูกที่ใช้ยาที่เหมาะสมแล้วไม่ได้ผล (ระยะเวลาการใช้ยาขึ้นกับความรุนแรงของโรค โดยทั่วไปประมาณ 1 - 3 เดือน)

 


 

          วิธีการผ่าตัด โดยทั่วไปจะใช้วิธีดมยาสลบในการผ่าตัด และใช้กล้องสอดผ่านช่องจมูกเข้าไปในบริเวณที่จะผ่าตัด แล้วมีเครื่องมือสอดตามเข้าไปทำการผ่าตัด ในปัจจุบันมีการพัฒนาเครื่องมือมากขึ้น เพื่อให้มีความสะดวกในการผ่าตัด สามารถตัดเนื้อเยื่อที่เป็นโรคที่ต้องการตัดได้ดี ลดการรบกวนเนื้อเยื่อส่วนดีที่ไม่ต้องการตัดได้ ทำให้มีเลือดออกน้อย ผ่าตัดเสร็จแล้วไม่ต้องใส่วัสดุห้ามเลือดในจมูกมาก หลังผ่าตัดคนไข้จึงเจ็บแผลน้อย สามารถหายใจทางจมูกได้ดี การทำผ่าตัดมีหลายแบบคือ 1.Balloon Sinuplasty 2.Minimally Invasive Sinus Technique 3.Functional Endoscopic Sinus Surgery (FESS) และ4.Full-House FESS  

           ซึ่งการผ่าตัดไซนัสจะเลือกเป็นวิธีการผ่าตัดแบบไหนและส่วนไหนบ้างนั้นขึ้นอยู่กับผู้ป่วยแต่ละราย โดยมีข้อมูลเบื้องต้นเป็นความรู้คือ 1. ไซนัสเป็นอวัยวะที่มีประโยชน์และธรรมชาติสร้างให้มีโครงสร้างในจมูกที่ป้องกันไม่ให้โพรงไซนัสสัมผัสกับช่องจมูกโดยตรง 2. การผ่าตัดไซนัสเป็นการทำให้ช่องเปิดของไซนัสกว้างขึ้นและเปิดช่องทางเดินของมูกของไซนัสให้เชื่อมเข้ากับช่องจมูกโดยตรง มูกในไซนัสจึงขับออกทางจมูกได้ง่ายขึ้น หรือเวลาล้างจมูก น้ำเกลือก็เข้าไปล้างในไซนัสได้ ถ้าใช้ยาผสมในน้ำเกลือ ยาก็สามารถเข้าไปถึงเยื่อยุผิวได้ดี แต่ในทางกลับกัน เมื่อมีอะไรในจมูก สิ่งนั้นๆ ก็จะเข้าไปในไซนัสได้ง่ายขึ้นเหมือนกัน เช่น เวลาเป็นไข้หวัด (โรคจมูกอักเสบจากไวรัส) ก็จะมีไซนัสอักเสบจากไวรัสได้มากและขึ้น ถ้าผ่าตัดแบบเปิดกว้างมากเช่น Full-House FESS ไซนัสทั้ง 5 ไซนัสก็จะต่อเป็นโพรงเดียวกับช่องจมูก การจะผ่าตัดจึงต้องมีข้อบ่งชี้ที่ชัดเจน การมีข้อบ่งชี้ในการทำผ่าตัดหมายความว่ามีการศึกษาในวงกว้างมาแล้วว่าการผ่าตัดมีความจำเป็นหรือได้ประโยชน์มากกว่าการไม่ผ่าตัด การผ่าตัดไซนัสจะพิจารณาผ่าตัดเฉพาะในส่วนที่ควรผ่า และไม่ผ่าตัดในส่วนที่ไม่จำเป็น ผู้ป่วยแต่ละรายจะมีสาเหตุของโรคและวัตถุประสงค์ในการผ่าตัดที่ไม่เหมือนกัน วิธีการผ่าตัดจึงอาจไม่เหมือนกันทั้งหมดในผู้ป่วยแต่ละราย แพทย์จะให้แนะนำเลือกวิธีการผ่าตัดที่เหมาะสม ดูว่าไซนัสอักเสบแบบไหนจะเลือกใช้การผ่าตัดแบบไหนจึงจะได้ผลดีที่สุด และมีผลกระทบต่อไซนัสส่วนที่เหลือน้อยที่สุด เนื่องจากไซนัสอยู่ติดกับดวงตา สมอง เส้นประสาทตา และเส้นเลือดแดงใหญ่ที่ไปเลี้ยงสมอง การผ่าตัดจึงมีความเสี่ยง แต่ปัจจุบันมีเครื่องมือที่เรียกว่าเครื่องนำวิถีในการผ่าตัด (Navigator) ช่วยให้การผ่าตัดมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

 


 

              ทั้งนี้ อวัยวะบริเวณ หู คอ จมูก ศีรษะและลำคอ เป็นอวัยวะที่ซับซ้อน การตรวจวินิจฉัยโรคต่างๆ จึงจำเป็นต้องเข้ารับการตรวจอย่างละเอียด บวกกับการใช้เทคโนโลยีในการตรวจอย่างเหมาะสม สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ ศูนย์หู คอ จมูก กรุงเทพ รพ.กรุงเทพ โทร.1719

 

 

 

More
ฝุ่น PM 2.5 อันตรายที่มองไม่เห็นด้วยดวงตา ภัยร้ายทำลายเส้นผม
จุฬาฯ เปิดตัว “วีลแชร์เดินได้” Wheelchair Exoskeleton หุ่นยนต์สวมใส่บนร่างกายมนุษย์
ภัยเงียบ ! หมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท รักษาไม่ตรงจุดเสี่ยงพิการ
แพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกสันหลัง เผย “รักษาที่ต้นเหตุ” หายอย่างยั่งยืน
‘RSV’ โรคที่ผู้ใหญ่ก็เป็นได้
Others
Garmin จัด Health Summit ต่อเนื่องปีที่ 5 ณ สิงคโปร์ เผยสุดยอดโปรเจคที่ประยุกต์ใช้ Garmin Smartwatch เพื่อสร้างโซลูชัน...
“พีพี”- “บิวกิ้น”ยกทัพความฟิน ชวนช้อบปิ้งในงาน “Supersports EXPO 2020”
“ettusais Pore Care Clay” โคลนมาส์กหน้า ลดสิวอุดตัน-สิวหัวดำ
สำรวจพฤติกรรมเสี่ยง...7 โรค NCDs เผยคร่าชีวิตคนไทยสูงถึง 73% สูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก
แผนการกิน พิชิตน้ำหนักทันใจด้วยสูตรซุปกะหล่ำปลี (ตอนจบ)
Latest
“โรงแรมแกรนด์ เซนเตอร์ พอยต์ ลุมพินี” เปิดตัวอย่างยิ่งใหญ่ พร้อมฉลองครบรอบ 17 ปี โดยมี ‘หลิงหลิง-ออม, แอลลี่ อชิรญา, โต...
“โรงแรม แกรนด์ เซนเตอร์ พอยต์ ลุมพินี” เปิดตัวอย่างยิ่งใหญ่ พร้อมเฉลิมฉลองครบรอบ 17 ปี ของกลุ่มโรงแรม แกรนด์ เซนเตอร์ พอ...
อแมนด้า ออบดัม พิตต้า ณ พัทลุง และทับทิม มัลลิกา ปลื้ม! แมคอดัมส์ (McAdams) ผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์อัลตราพรีเมียมสัญชาติอัง...
TTA มอบเงิน 1 ล้านบาท สนับสนุนการฟื้นฟู รพ.รามาธิบดี หลังเหตุเพลิงไหม้
ไอคอนสยาม เตรียมส่งมอบประสบการณ์ทางวัฒนธรรมสาดความสุขสไตล์ไทย จับมือพันธมิตรรัฐ-เอกชน จัดเทศกาลมหาสงกรานต์มรดกโลกอย่างย...

 

 

Top Hits
“พีพี กฤษฏ์” ขึ้นแท่นพรีเซนเตอร์นมพิสทาชิโอแบรนด์ ซันคิสท์ แบรนด์ระดับโลก พร้อมร่วม ครีเอทเมนูสุดพิเศษด้วยนมพิสทาชิโอที่...
มัดรวมภาพประทับใจจากงาน เนสกาแฟ โกลด์ เครมมา คอลแลปส์ แจ็คสัน หวัง เนรมิต “เดอะ ไฟน์เนส แมนชั่น”
Za DEEP HYDRATION ผิวเปล่งปลั่งอิ่มน้ำมีประกาย สวยตั้งแต่วินาทีนี้
ลดอาการปวดเมื่อยด้วย “ท่านอนที่ถูกวิธี”
Bruce Jenner ตัดสินใจเป็นผู้หญิงในวัย 65 ปี
“เก้า - สุภัสสรา” ชวนช้อปสนุกสุดฟิน กับบัตรเครดิต เซ็นทรัล เดอะวัน สิทธิพิเศษเหนือระดับ ครอบคลุมทุกไลฟ์สไตล์ ที่ศูนย์กา...
10 อันดับอาหารคอเลสเตอรอลสูง