สำรวจพฤติกรรมเสี่ยง...7 โรค NCDs เผยคร่าชีวิตคนไทยสูงถึง 73% สูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก

 

ทุกวันนี้หลายคนอาจจะมีการตื่นตัว และกลัวเรื่องของการแพร่ระบาดของโรคติดต่อทั้งหลายกันมากขึ้น แต่ในความเป็นจริงแล้วพบว่าคนไทยเสียชีวิตจากกลุ่มโรค NCDs สูงถึง 73% ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกทีเดียว

แต่เมื่อเอ่ยถึง โรค NCDs (Non-communicable diseases) หรือกลุ่มโรคไม่ติดต่อ และเป็นกลุ่มโรคเรื้อรังที่เกิดต่อเนื่องยาวนาน และมีการดำเนินของโรคอย่างช้าๆ แตกต่างจากโรคติดเชื้อส่วนใหญ่ที่มักมีการดำเนินโรคอย่างรวดเร็ว หลายคนอาจคิดว่าเป็นเรื่องที่ไกลตัว ไม่ติดต่อกันได้ง่ายๆ หรือเป็นโรคสำหรับคนสูงอายุเท่านั้น 

 


 

ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพกรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพ ให้ข้อมูลว่า โรค NCDs (Non-communicable diseases) หรือกลุ่มโรคไม่ติดต่อนั้น สามารถก่อให้เกิดโรคร้าย อาทิเช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน, โรคหลอดเลือดสมองอุดตัน Stroke, โรคความดันโลหิตสูง,โรคถุงลมโป่งพอง, โรคอ้วนลงพุง โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง ซึ่งโรคเหล่านี้มักมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น สูบบุหรี่ เครียดบ่อย ทานอาหารฟาสฟู้ดเป็นประจำ ออกกำลังกายไม่เพียงพอ และดื่มสุรามากเกินไป ซึ่งหากสามารถกำจัดปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญสำหรับโรค NCDs ได้ จะลดอัตราการเกิดโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ถึง 75% และลดการเกิดโรคมะเร็งได้ถึง 40%

สำหรับกลุ่มโรค NCDs ที่พบได้มากในปัจจุบัน และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างน่าตกใจอันดับแรกได้แก่

 


 

1.โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน โดย 30% ของจำนวนผู้ป่วยโรคนี้มักไม่ปรากฏอาการหรือมีสัญญาณของโรคที่น่าสงสัยใดๆ สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ จนกระทั่งมารู้ตัวอีกทีก็เมื่อพบว่าอาการของโรคถึงขั้นรุนแรงแล้ว ซึ่งปัจจัยเสี่ยงเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ มีหลายสาเหตุ อาทิ การใช้ชีวิตประจำวันที่เร่งรีบ การทำงานที่แข่งขันกับเวลา ภาวะคลอเลสเตอรอลในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ความอ้วน การสูบบุหรี่ การขาดการออกกำลังกาย ความเครียด และอาหาร สัญญาณอันตรายที่ควรสังเกต ได้แก่ อึดอัด หายใจไม่สะดวก หายใจไม่เต็มอิ่ม แน่นเหมือนมีอะไรมาบีบรัดหรือกดทับที่หน้าอก คลื่นไส้ เหงื่อออก ในรายที่มีหลอดเลือดหัวใจตีบมากจนตัน จะทำให้มีการขาดเลือดอย่างรุนแรงของกล้ามเนื้อหัวใจ อาจเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายในที่สุด แม้จะเป็นโรคที่ไม่มีสัญญาณเตือนล่วงหน้า แต่เราสามารถป้องกันได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่จะเป็นการลดปัจจัยเสี่ยง เช่น ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ทานผัก ผลไม้ และอาหารที่มีเส้นใยอาหารสูง ควรหากิจกรรมคลายความเครียดทำจิตใจให้สบาย หัวเราะบ้าง นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และควรตรวจสุขภาพหัวใจเป็นประจำทุกปี

2.โรคหลอดเลือดสมอง หรือ Stroke เป็นโรคทำให้มีอัตราการเสียชีวิตเป็นอันดับต้นๆ ปัจจุบันพบเร็วขึ้นในกลุ่มอายุ 45 ปีขึ้นไป มักพบในผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคหัวใจ ความดันสูง ไขมันในเลือดสูง และผู้ที่สูบบุหรี่จัด หรือผู้ที่มีคนในครอบครัวเป็น Stroke มาก่อน โดยอาการเริ่มต้น ได้แก่ แขนขาอ่อนแรง ชาครึ่งซีก หน้าหรือปากเบี้ยว พูดไม่ชัด ตาข้างใดข้างหนึ่งพร่ามัวหรือมองไม่เห็น ปวดศีรษะเฉียบพลันแบบไม่มีสาเหตุ อาการเวียนหัว หรือวูบแบบเฉียบพลัน หากมีอาการดังกล่าวควรรีบพบแพทย์ภายใน 3 ชม.เพื่อตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาทันที และป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ การหายจากอาการของโรคไม่ได้แปลว่าโรคหายแล้ว เนื่องจากหลอดเลือดมีการเสื่อมอย่างต่อเนื่อง หลอดเลือดที่ยังไม่อุดตันแต่มีการตีบก็จะมีโอกาสอุดตันในภายหน้า หลอดเลือดที่โป่งพองและยังไม่แตกก็มีโอกาสแตกแล้วเกิดอาการขึ้นใหม่ จึงควรตรวจเช็คการตีบตันของหลอดเลือดคอที่ไปเลี้ยงสมอง Carotid Duplex เป็นประจำทุกปี

 


 

3.โรคเบาหวาน ก็จัดเป็นอีกหนึ่งโรค NCDs ที่พบได้บ่อย จัดเป็น 1 ในกลุ่มโรค NCDs ซึ่งเป็นตัวการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด อัมพฤกษ์ อัมพาต และโรคไตวาย ดังนี้ ควรได้รับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจหรือวิ่งสายพาน เพื่อตรวจเช็คสภาพการทำงานของหัวใจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง พร้อมตรวจเช็คไขมันในร่างกาย คือการที่มีระดับน้ำตาล (กลูโคส) ในเลือดสูงกว่าปกติเกิดขึ้นเนื่องจากอินซูลินไม่สามารถนำน้ำตาลในเลือดเข้าไปใช้เป็นพลังงานในเซลล์ได้ สาเหตุเกิดจากร่างกายมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน และตับอ่อนผลิตอินซูลินได้ไม่เพียงพอ สัญญาณอันตรายที่บอกว่าคุณใกล้เป็นมนุษย์เบาหวาน ได้แก่ ความดันโลหิต สูงเกินกว่า 130/90 มม.ปรอท เจาะเลือด ค่าน้ำตาลสะสมปลายนิ้ว HbA1c มากกว่า 9% มีปื้นดำที่คอ ข้อพับ ขาหนีบ เป็นแผลแล้วหายยาก พฤติกรรมเสี่ยงเป็นเบาหวาน ได้แก่ อ้วนลงพุง ไม่ชอบออกกำลังกาย ชอบกินหวาน มัน เค็มจัด ปัสสาวะบ่อยตอนดึก และเครียด ถ้าไม่อยากเสี่ยงโรคเบาหวาน ควรเริ่มเปลี่ยนพฤติกรรมตั้งแต่วันนี้ งดอาหารหวานมันเค็ม ออกกำลังกายเป็นประจำ หรือควรพบแพทย์เฉพาะทางเพื่อตรวจเบาหวาน


4.โรคถุงลมโป่งพอง เป็นโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่ซึ่งทรมานกว่าโรคหัวใจหรือมะเร็งปอด ปัจจุบันโรคถุงลมโป่งพองติดอันดับ 5 ของสาเหตุการเสียชีวิตในประเทศไทย สัญญาณเตือนภาวะถุงลมเริ่มโป่งพอง ไอเรื้อรัง มีเสมหะ เป็นหวัดง่าย แน่นหน้าอก หายใจมีเสียงวี้ด หลอดลมอักเสบบ่อย เหนื่อยหอบง่าย วิธีการป้องกัน ควรงดสูบบุหรี่ ออกกำลังกายเป็นประจำ และควรตรวจสมรรถภาพปอดสม่ำเสมอ

 


 

5.โรคอ้วนลงพุง เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เกิดจากพฤติกรรมผิดๆ เช่น เป็นสุดยอดนักชิม ชอบกินอาหารบุฟเฟ่ต์ ทานขนมทั้งวัน นั่งทำงานอยู่กับที่ และไม่ชอบออกกำลังกาย ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคร้ายได้ เช่น ไขมันในเลือดผิดปกติ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน สิ่งที่บ่งบอกว่าคุณกำลังเข้าข่ายอ้วนลงพุง คือ ผู้ชายมีรอบเอวเกิน 90 ซม. / ผู้หญิงรอบเอวเกิน 80 ซม. สำหรับผู้ที่เข้าข่ายอ้วนลงพุง สังเกตว่ารูปร่างเริ่มลงพุง มีลักษณะเหมือนลูกแพร์ มักมีอาการปวดหัวตอนเช้า และง่วงนอนตอนกลางวัน หายใจลำบากเวลานอน ทำอะไรก็เหนื่อยง่าย และอาจมีความเสี่ยงต่อภาวะหยุดหายใจในระหว่างหลับเพิ่มมากขึ้น ถ้าน้ำหนักตัวมากโดยเฉพาะ BMI มากกว่า 35, นอนกรนตอนอายุมากกว่า 50 ปีขึ้น, รอบคอโตกว่า 40 ซม. และเป็นความโชคร้ายของเพศชายที่มีโอกาสเป็นมากกว่าเพศหญิง หรือมีความดันสูงและคุมด้วยยาไม่ได้ ก็อาจมีอาการหยุดหายใจขณะหลับซ่อนอยู่ และมีการศึกษาพบว่า เมื่อได้รับการรักษาภาวะหยุดหายใจหรือหายใจแผ่วขณะหลับแล้ว ความดันที่คุมไม่ได้จะคุมง่ายขึ้น

6.โรคความดันโลหิตสูง คภาวะที่มีระดับความดันโลหิตสูงเรื้อรัง มีค่าตั้งแต่ 140/90 มม.ปรอทขึ้นไป คนส่วนใหญ่มีภาวะความดันดันโลหิตสูงโดยที่ไม่ทราบว่าตนเองมีภาวะนี้ เนื่องจากเป็นโรคที่ไม่ค่อยปรากฏอาการที่ชัดเจนในช่วงแรก แต่เมื่อปล่อยนานไปโดยไม่ได้รับการดูแลรักษา แรงดันในหลอดเลือดที่สูงจะไปทำลายผนังหลอดเลือดและอวัยวะที่สำคัญทั่วร่างกาย  จึงจัดเป็นภัยซ่อนเร้นที่เป็นสาเหตุให้เกิดโรคต่างๆ ตามมามากมาย เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ  โรคหัวใจล้มเหลว  โรคไตวาย และโรคอัมพาต  ซึ่งส่วนใหญ่จะไม่มีอาการจนกว่าจะเกิดโรคแทรกซ้อนเหล่านี้ โดยมีสัญญาณอันตราย ได้แก่ หลังตื่นนอนตอนเช้า มึน งง ตาพร่า เหนื่อยง่าย ใจสั่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดหัวเฉียบพลันบ่อยๆ เลือดกำเดาออกบ่อย หลักการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดความดันโลหิตสูง ง่ายๆ คือ การลดน้ำหนัก หลีกเลี่ยงอาหารเค็ม ออกกำลังกายสม่ำเสมอ  งดบุหรี่  ลดแอลกอฮอล์  ลดความเครียด

 


 

7.โรคมะเร็ง ปัจจุบันจากสถิติประชากรทั้งในประเทศไทยและทั่วโลกพบว่า โรคมะเร็งนับเป็นโรคที่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตมากเป็นอันดับหนึ่งในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และมีแนวโน้มสูงมากขึ้นเรื่อยๆ ในทุกๆ ปี ซึ่งมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัยด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยด้านพันธุกรรมหรือการดำเนินชีวิตที่ไม่ถูกสุขลักษณะ ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอน แต่เชื่อว่ามีปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคมะเร็งอยู่หลายประการ สาเหตุจากสิ่งแวดล้อมภายนอกร่างกาย เช่น สารเคมีบางชนิด รังสีต่างๆรวมทั้งรังสีอุลตราไวโอเลตในแสงแดด การติดเชื้อเรื้อรัง หรือพยาธิ เช่น พยาธใบไม้ตับ มีความสัมพันธ์กับมะเร็งท่อน้ำดีในตับ เป็นต้น สาเหตุภายในร่างกาย เช่น กรรมพันธุ์ที่ผิดปกติ ความไม่สมดุลทางฮอร์โมน ภูมิคุ้มกันที่บกพร่อง การระคายเคืองที่เกิดซ้ำๆเป็นเวลานาน ภาวะทุพโภชนาการ เป็นต้น สัญญาณอันตราย 7 ประการ ที่ควรรีบมาพบแพทย์ ได้แก่ มีเลือดหรือสิ่งผิดปกติออกจากร่างกาย เช่น มีตกขาวมากเกินไป, มีก้อนหรือตุ่ม เกิดขึ้นที่ใดที่หนึ่งของร่างกายและก้อนนั้นโตเร็วผิดปกติ, มีแผลเรื้อรัง, มีการถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ ผิดปกติหรือเปลี่ยนไปจากเดิม, เสียงแหบ ไอเรื้อรัง กลืนอาหารลำบาก เบื่ออาหาร น้ำหนักลด, มีการเปลี่ยนแปลงของหูด ไฝ ปาน เช่น โตผิดปกติ หลักการใช้ชีวิตแบบง่ายๆ เพื่อป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง เริ่มต้นจากการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เสริมสร้างความแข็งแรงด้วยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ทำจิตใจให้แจ่มใส และที่สำคัญคือ การ ‘ลด’ ความเสี่ยงในการเกิดโรคด้วยการ ‘ค้นหา’ ให้พบสิ่งผิดปกติโดยเร็วที่สุด โดยการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งตั้งแต่อายุ 30 ปี  ซึ่งการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งนั้นมีหลายวิธี ล้วนแล้วแต่เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพและได้ผลดีในการป้องกันและรักษาได้ทันท่วงที

โรค NCDs แม้จะเป็นโรคที่ไม่ติดต่อ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องไกลตัวสำหรับทุกคน เราสามารถป้องกันได้โดยการลองสังเกตพฤติกรรมเสี่ยงในชีวิตประจำวันของตัวเอง แล้วปรับเปลี่ยนให้ถูกสุขลักษณะเสียแต่เนิ่นๆ เพียงเท่านี้เราก็สามารถลดอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคไม่ติดต่อของตนเองและคนที่รักได้แล้ว

 

 

 

More
ตาพร่ามัว...อย่าชะล่าใจ หมอตาเตือนคนวัยทำงานอายุ 30+ ระวังเบาหวานขึ้นจอตา ภัยเงียบที่คุกคามสายตาจากโรคเบาหวาน
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการผ่าตัดรักษาโรคอ้วน โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ประสบความสำเร็จในการรักษาโรคอ้วนทุพพลภาพ สกัดโรคเรื้อรั...
รพ.สมเด็จพระยุพราชปัว จ.น่าน เปิดให้บริการศูนย์ผ่าตัดผ่านกล้องเฉพาะทางและผ่าตัดส่องกล้องรักษาโรคอ้วน
เนสท์เล่เผยเทคนิคดูแลน้ำหนักตัวอย่างยั่งยืน คุมอาหารแบบแฮปปี้ กินได้ไม่ต้องอด
GSK เปิดผลสำรวจพบคนจำนวนมากขาดความรู้เกี่ยวกับ ‘ไวรัสอาร์เอสวี (RSV)’ ทั้งที่เป็นไวรัสที่อันตรายต่อสุขภาพของผู้สูงอายุ
Others
เติร์ก-ณัฐชนนท์ รับบทหมวดมิน หนุ่มซื่อแต่น่ารัก ในซิทคอม “ว่าความ ตามรัก"ทางช่อง 7
“ปั้น Basher” คัมแบค! ลุยถ่ายเบื้องหลัง MV เพลง “พูดผ่านกำแพง”
เช็ค 5 สัญญาณเสี่ยงโรคต้อกระจก เลี่ยงภาวะตาบอด
ปลดล็อคผิวด้วยสุดยอดนวัตกรรมจาก No7 ลิฟท์ แอนด์ ลูมิเนท ทริปเปิล แอคชั่น สกินแคร์ ใหม่ อีกขั้นของการดูแลริ้วรอยแห่งวัย
“ใหม่ ดาวิกา โฮร์เน่” คว้าอีกตัวพรีเซ็นเตอร์คนใหม่ “สาหร่ายเถ้าแก่น้อย” สุดเซอร์ไพร์เปิดตัวโชว์สเต็ปเต้น “ท่าใหม่...ท่า...
Latest
รับมือข่าวลวง! สังคมออนไลน์ทำคนลังเลฉีดวัคซีน เร่งเสริมความรู้ ป้องกันภัยข้อมูลเท็จ
คิง เพาเวอร์ ต้อนรับเทศกาลแห่งความสุขส่งท้ายปี เปิดแคมเปญ “THE POWER OF FUNTASTIC CELEBRATION 2025” ฉลองทุกความสุข สนุ...
ยูนิโคล่ จับมือ อันยา ไฮนด์มาร์ช ร่วมสร้างสรรค์ผลงานความสนุกสนาน ครั้งแรกในไทย กับคอลเลคชัน UNIQLO x ANYA HINDMARCH Win...
CDC ฉลองใหญ่ครบรอบ 15 ปี “CDC 15th Anniversary Golf Day” ชูบรรยากาศกอล์ฟสุดพิเศษ รวมตัวพ่อตัวมัมแวดวงธุรกิจ-การออกแบบกร...
“คิง เพาเวอร์” ขยายอาณาจักรค้าปลีกสู่ใจกลางเมือง เปิดตัวแบรนด์ใหม่ “คิง เพาเวอร์ ซิตี บูทีก” ที่สุดแห่งประสบการณ์ช้อปมิต...

 

 

Top Hits
“พีพี กฤษฏ์” ขึ้นแท่นพรีเซนเตอร์นมพิสทาชิโอแบรนด์ ซันคิสท์ แบรนด์ระดับโลก พร้อมร่วม ครีเอทเมนูสุดพิเศษด้วยนมพิสทาชิโอที่...
Za DEEP HYDRATION ผิวเปล่งปลั่งอิ่มน้ำมีประกาย สวยตั้งแต่วินาทีนี้
มัดรวมภาพประทับใจจากงาน เนสกาแฟ โกลด์ เครมมา คอลแลปส์ แจ็คสัน หวัง เนรมิต “เดอะ ไฟน์เนส แมนชั่น”
ลดอาการปวดเมื่อยด้วย “ท่านอนที่ถูกวิธี”
Bruce Jenner ตัดสินใจเป็นผู้หญิงในวัย 65 ปี
“เก้า - สุภัสสรา” ชวนช้อปสนุกสุดฟิน กับบัตรเครดิต เซ็นทรัล เดอะวัน สิทธิพิเศษเหนือระดับ ครอบคลุมทุกไลฟ์สไตล์ ที่ศูนย์กา...
10 อันดับอาหารคอเลสเตอรอลสูง