รับมือข่าวลวง! สังคมออนไลน์ทำคนลังเลฉีดวัคซีน เร่งเสริมความรู้ ป้องกันภัยข้อมูลเท็จ

 

โควิด-19 ทำให้เกิดข่าวลวงและข้อมูลที่บิดเบือนมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ โดยเฉพาะเรื่องวัคซีน ทำให้คนลังเลในการรับวัคซีน เกิดอัตราการฉีดวัคซีนต่ำ ส่งผลให้โรคที่สามารถป้องกันได้กลับมาระบาด

 


 

 


 

 


 

        แพทย์และผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสารแนะนำให้หน่วยงานสาธารณสุขเร่งจัดการข้อมูลบิดเบือน เสริมสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง พร้อมฟื้นฟูความเชื่อมั่นของประชาชนอย่างเร่งด่วน

      ในการประชุมวิชาการวัคซีนแห่งชาติ ครั้งที่ 11 ภายใต้แนวคิด “วัคซีนภายใต้บริบทโลกไร้พรมแดน” ของสถาบันวัคซีนแห่งชาติ ได้มีการจัดเสวนา หัวข้อ “ข้อมูลบิดเบือนบนสังคมออนไลน์ ส่งผลต่อการตัดสินใจรับวัคซีนอย่างไร” โดยได้เชิญผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ สื่อสารมวลชน และอินฟลูเอนเซอร์ด้านสุขภาพ มาร่วมอภิปรายถึงสถานการณ์การรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับวัคซีนในสังคมไทย ซึ่งปัจจุบันประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลผ่านแพลตฟอร์มที่หลากหลาย เพื่อหาแนวทางการจัดการหรือการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการรับวัคซีนที่ถูกต้องแก่ประชาชน

 


นายพีรพล อนุตรโสตถิ์

 

       นายพีรพล อนุตรโสตถิ์ ผู้จัดการศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงที่มาของความเข้าใจผิดและการรับข่าวสารข้อมูลที่บิดเบือนเกี่ยวกับวัคซีนที่ปรากฏตามสื่อและโซเชียลมีเดียต่างๆ  ว่า “ก่อนที่จะเกิดโรคระบาดครั้งใหญ่อย่างโควิด-19 ขึ้น ข้อมูลข่าวสารที่มีการบิดเบือนมักเป็นประเด็นสังคม เช่น ความเชื่อด้านการเมืองหรือศาสนา จนกระทั่งเกิดสถานการณ์โควิด-19 ขึ้นทั่วโลก ทำให้เราพบว่า โควิด-19 ทำให้เกิดข่าวลวงและข้อมูลที่บิดเบือนมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ โดยเฉพาะข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพและวัคซีน คำว่าบิดเบือนก็คือ การทำให้สิ่งที่เป็นจริงกลายเป็นเรื่องผิดและทำให้คนมองผิดจุด ซึ่งหลักการในการสร้างข้อมูลเท็จและข่าวลวงหรือ fake news ที่ทำให้ผู้รับสารปฏิเสธหลักการทางวิทยาศาสตร์ ด้วยการสร้างผู้เชี่ยวชาญปลอมขึ้น สร้างตรรกะวิบัติ การปิดบังหลักฐาน และทฤษฎีสมคบคิด อาศัยช่องทางผ่านคนดังที่มีผู้ติดตามมาก ทำให้ข้อมูลบิดเบือนนี้แพร่ออกไปในวงกว้าง ซึ่งต้นตอการบิดเบือนของข้อมูลก็มาจากการสร้างข้อมูลอ้างอิงปลอม ทั้งคนดัง เว็บไซต์ และงานวิจัยต่างๆ  ทำให้เกิดความสับสนยิ่งขึ้นว่าข้อมูลไหนจริง ข้อมูลไหนเท็จ”

 


รศ. ดร.วรัชญ์ ครุจิต อาจารย์ประจำ

 

       รศ. ดร.วรัชญ์ ครุจิต อาจารย์ประจำ คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒน บริหารศาสตร์ ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาฝ่ายสื่อสารของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. กล่าวว่า ปัจจุบันการสื่อสารในยุคดิจิทัลมีความเร็ว และมีข้อมูลจำนวนมาก มีช่องทางสื่อสารที่หลากหลาย ทำให้ได้รับข้อมูลมากเกินไปจนกลั่นกรองได้ยาก รวมทั้งการเข้ามาของปัญญาประดิษฐ์หรือ AI ยิ่งทำให้ผู้ปล่อยข้อมูลบิดเบือนสามารถผลิตคอนเทนต์ได้หลายรูปแบบ ส่งผลให้คนไทยซึ่งนิยมเสพสื่อออนไลน์ ตกเป็นเหยื่อ misinformation โดยเฉพาะเรื่องวัคซีน ดังนั้น วิจารณญาณในการเสพสื่อจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะการรับข้อมูลที่เป็นเท็จนั้นส่งผลให้มีอันตรายรุนแรงถึงชีวิตได้ องค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า ข่าวลวงเกี่ยวกับวัคซีนมี 5 ประเภท คือ 1. โรคระบาดไม่รุนแรง 2. คนที่เชิญชวนให้รับวัคซีนไม่น่าเชื่อถือ 3. มีวิธีอื่นที่รักษาโรคได้ 4. วัคซีนขาดประสิทธิภาพ และ 5. วัคซีนมีอันตรายต่อร่างกาย ความเชื่อผิดๆ เหล่านี้ทำให้คนลังเลในการพิจารณารับวัคซีน ส่งผลให้โรคยิ่งแพร่กระจาย 

       โดย รศ. ดร.วรัชญ์ ได้แนะนำว่า การสื่อสารกับผู้ปฏิเสธวัคซีนควรใช้หลัก KAP (Knowledge-Attitude-Action) เริ่มจากให้ความรู้ ปรับทัศนคติ และนำไปสู่การกระทำ หลีกเลี่ยงการขู่ แต่ควรให้ข้อมูลตามจริงว่า วัคซีนแม้ไม่สามารถป้องกันได้ 100% แต่ช่วยลดความรุนแรงของโรค นอกจากนี้ การสื่อสารควรใช้รูปแบบที่สนุก น่าสนใจ และไม่เคร่งเครียด เพื่อให้ผู้ฟังเปิดใจยอมรับข้อมูลอีกด้าน พร้อมรับฟังปัญหาของผู้ฟังก่อน เพื่อให้ข้อมูลที่ตรงจุดและสร้างความเข้าใจที่ดีขึ้น

 


นพ.ทรงเกียรติ อุดมพรวัฒนะ

 

        นพ.ทรงเกียรติ อุดมพรวัฒนะ นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ กลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลพุทธชินราช แอดมินเพจเฟซบุ๊ก “Infectious ง่ายนิดเดียว” กล่าวว่า “ความเชื่อผิดๆ ในการรับวัคซีนส่งผลกระทบรุนแรง โดยเฉพาะเมื่อเกิดความเข้าใจผิดเรื่องวัคซีนที่เด็กเล็กควรได้รับ ซึ่งนอกจากข้อมูลที่บิดเบือนแล้ว หลายคนเลือกไม่รับวัคซีนเพราะประสบการณ์ส่วนตัวของผู้รับข้อมูลด้วยเช่นกัน ตัวอย่างเช่น หลายคนหลีกเลี่ยงการรับวัคซีนเพราะกลัวเจ็บ กลัวเข็มฉีดยา เป็นต้น บุคลากรทางการแพทย์จึงต้องเน้นย้ำความสำคัญของการให้วัคซีนแก่บุตรหลาน ดังนั้นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการให้ข้อมูลทางการแพทย์คือ การนำเสนอข้อเท็จจริงจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ โดยไม่ใส่ความรู้สึกส่วนตัวลงไป” 

        นอกจากนี้ นพ.ทรงเกียรติ ยังกล่าวเสริมว่า “นอกเหนือจากหลักการ 3 อ. อาหาร อารมณ์ ออกกำลังกาย ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญในการดูแลสุขภาพแล้ว วัคซีนก็ถือเป็นปัจจัยที่ 4 ในการคุ้มกันเราจากโรคภัยไข้เจ็บและลดการแพร่ระบาดของโรคลงได้ พร้อมช่วยเพิ่มอายุขัยให้กับประชากร”

 


นาวาโท นพ.อรรถสิทธิ์ ดุลอำนวย

 

       นาวาโท นพ.อรรถสิทธิ์ ดุลอำนวย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านนิติเวชศาสตร์โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช  กล่าวว่า ในการชันสูตรผู้ที่เสียชีวิตหลังรับวัคซีน พบว่าร้อยละ 99 ของผู้เสียชีวิตหลังรับวัคซีนโควิด ไม่ได้เสียชีวิตเพราะวัคซีน ผู้รับสารจึงควรเลือกรับข้อมูลข่าวสารจากหน่วยงานด้านสาธารณสุข ทั้งในระดับประเทศและในระดับสากล เช่น ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกโดยตรง

 


พญ.สุเนตร ชื่นกิจมงคล

 

       พญ.สุเนตร ชื่นกิจมงคล รองผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ กล่าวว่า “การตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวัคซีนมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำเนินงานด้านสาธารณสุขที่มีประสิทธิภาพ การเปิดเผยข้อมูลเท็จและส่งเสริมข้อมูลที่ถูกต้อง ช่วยสร้างความเชื่อมั่นในหน่วยงานสาธารณสุข เพิ่มอัตราการรับวัคซีนและควบคุมโรคได้ องค์กรต่างๆ รวมถึงหน่วยงานภาครัฐ องค์กรตรวจสอบข้อเท็จจริงอิสระ และสื่อมวลชน สามารถดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงได้โดยผ่านการวิจัยและวิเคราะห์อย่างเข้มงวด ผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริงสามารถระบุและเปิดเผยข้อกล่าวหาเท็จ ให้ข้อมูลที่อ้างอิงหลักฐาน และให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับความสำคัญของการรับวัคซีน แนวทางนี้จะมีส่วนช่วยในการตัดสินใจอย่างรอบรู้และเสริมสร้างสังคมที่มีประชากรสุขภาพดี”
     “การสร้างภูมิคุ้มกันทางความรู้ เป็นแนวทางสำคัญที่จะทำให้เรารอดพ้นวิกฤติต่างๆ อันเป็นผลจากการหลงเชื่อข้อมูลบิดเบือนเหล่านี้ไปได้” พญ.สุเนตร กล่าวทิ้งท้าย

 

 

 

More
ยาดมตราโป๊ยเซียน เปลี่ยนพลาสติกเป็นถนน UPCYCLING ลดปัญหาพลาสติกสะสมในประเทศ เพื่อประโยชน์อย่างยั่งยืนของคนไทย
อายิโนะโมะโต๊ะ ฉลองครบรอบ 65 ปี จัดใหญ่! “aminoVITAL Run 2025” ตามสโลแกน กินดี มีสุขภาพดี
POP MART THAILAND จัดงาน "SKULLPANDA EXCLUSIVE EVENT" เนรมิตอีเว้นท์คริสต์มาสรูปแบบใหม่ เผยคอลเล็กชันพิเศษ ดึงศิลปินออกแ...
จิมมี่ - ซี - ใบปอ ร่วมเปิด HEYDUDE POP-UP STORE แบรนด์รองเท้าสุดชิคครั้งแรกในไทย
GSK ผนึกกำลัง ‘ลำพูน’ เปิดตัว “สุขศาลา” ศูนย์สุขภาพชุมชนถนนรถแก้ว รณรงค์ตรวจสุขภาพ รับมือ PM 2.5 ยกระดับคุณภาพชีวิตของชา...
Others
D-Workout ฟิตเนสของแท้!!!! ที่เล่นมันส์ที่สุด
"ศูนย์บริการสุขภาพ" คณะสหเวชศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ คว้าใบรับรองความสามารถ ห้องปฏิบัติการตามมาตรฐาน ISO 15189:2012 และ 1519...
DITP เปิดตัวต้นแบบสินค้า CO-BRAND สุดครีเอท จาก 7 พันธมิตรชั้นนำ ผนึกกำลังนักออกแบบรุ่นใหม่ ร่วมโชว์ไอเดียกว่า 69 รายการ
อยากสวยอยากปัง! ต้องมาลอง HIFU นวัตกรรมกระชับผิวขั้นเทพที่ Sincere Clinic
12 คำถามสุขภาพที่สตรีควรถาม
Latest
ยาดมตราโป๊ยเซียน เปลี่ยนพลาสติกเป็นถนน UPCYCLING ลดปัญหาพลาสติกสะสมในประเทศ เพื่อประโยชน์อย่างยั่งยืนของคนไทย
อายิโนะโมะโต๊ะ ฉลองครบรอบ 65 ปี จัดใหญ่! “aminoVITAL Run 2025” ตามสโลแกน กินดี มีสุขภาพดี
LSOUL เผยภาพแคมเปญ 2 สาว Star Girl “น้ำตาล-ทิพนารี วีรวัฒโนดม” และ “ฟิล์ม-รชานันท์ มหาวรรณ์” ในชุดคอลเลกชั่นพิเศษเฉพาะปร...
POP MART THAILAND จัดงาน "SKULLPANDA EXCLUSIVE EVENT" เนรมิตอีเว้นท์คริสต์มาสรูปแบบใหม่ เผยคอลเล็กชันพิเศษ ดึงศิลปินออกแ...
จิมมี่ - ซี - ใบปอ ร่วมเปิด HEYDUDE POP-UP STORE แบรนด์รองเท้าสุดชิคครั้งแรกในไทย

 

 

Top Hits
“พีพี กฤษฏ์” ขึ้นแท่นพรีเซนเตอร์นมพิสทาชิโอแบรนด์ ซันคิสท์ แบรนด์ระดับโลก พร้อมร่วม ครีเอทเมนูสุดพิเศษด้วยนมพิสทาชิโอที่...
มัดรวมภาพประทับใจจากงาน เนสกาแฟ โกลด์ เครมมา คอลแลปส์ แจ็คสัน หวัง เนรมิต “เดอะ ไฟน์เนส แมนชั่น”
Za DEEP HYDRATION ผิวเปล่งปลั่งอิ่มน้ำมีประกาย สวยตั้งแต่วินาทีนี้
ลดอาการปวดเมื่อยด้วย “ท่านอนที่ถูกวิธี”
“เก้า - สุภัสสรา” ชวนช้อปสนุกสุดฟิน กับบัตรเครดิต เซ็นทรัล เดอะวัน สิทธิพิเศษเหนือระดับ ครอบคลุมทุกไลฟ์สไตล์ ที่ศูนย์กา...
Bruce Jenner ตัดสินใจเป็นผู้หญิงในวัย 65 ปี
10 อันดับอาหารคอเลสเตอรอลสูง