โอลิค ชวนพันธมิตรยกระดับความรู้และการดูแลสุขภาพผู้หญิง เนื่องในโอกาสวันสตรีสากล
category: News & Event
tag: #AccerlerateAction #IWD2025 #OLIC #OLICIWD2025 #OLICBewithHER #OLICwomenhealth
โอลิค (OLIC) บริษัทในเครือ บริษัท ฟูจิ ฟาร์มา จำกัด (Fuji Pharma Co., Ltd.) ผู้นำด้านการดูแลสุขภาพผู้หญิงจากประเทศญี่ปุ่น ร่วมเฉลิมฉลองวันสตรีสากลด้วยการยกระดับการดูแลสุขภาพผู้หญิงไทย

พร้อมชวนพันธมิตรจัดกิจกรรมส่งเสริมความรู้และการเข้าถึงข้อมูลสุขภาพที่ถูกต้อง รวมถึงการใช้ยาอย่างเหมาะสม เพื่อให้ผู้หญิงสามารถดูแลสุขภาพตนเองได้อย่างมั่นใจ
8 มีนาคมของทุกปี วันสตรีสากล (International Women’s Day) เป็นวันที่ทั่วโลกตระหนักถึงบทบาทสำคัญของผู้หญิงในการขับเคลื่อนสังคม ร่วมกันส่งเสริมสิทธิ เสรีภาพ ความเท่าเทียม และโอกาสในการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี สุขภาพผู้หญิงคือรากฐานสำคัญของการพัฒนาสังคม โดยเฉพาะในประเทศไทยที่มีประชากรผู้หญิงมากกว่าครึ่ง การส่งเสริมสุขภาพผู้หญิงจึงเป็นภารกิจสำคัญที่ต้องให้ความใส่ใจ โอลิค พร้อมด้วยพันธมิตรด้านสุขภาพ จึงร่วมกันส่งเสริมความรู้ควบคู่กับการมุ่งยกระดับความเข้าใจเรื่องสุขภาพของผู้หญิง เพื่อให้ผู้หญิงทุกคนสามารถดูแลสุขภาพได้อย่างมั่นใจ 
 นายโยชิฮิโร ทาคาดะ
นายโยชิฮิโร ทาคาดะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โอลิค (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “โอลิค มุ่งมั่นเป็นพันธมิตรด้านสุขภาพของผู้หญิงอย่างแท้จริง ด้วยประสบการณ์ 40 ปีในฐานะผู้นำการผลิตยาครบวงจรที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้เราเข้าใจความท้าทายด้านสุขภาพที่ผู้หญิงต้องเผชิญ เราเชื่อว่าการแก้ปัญหาสุขภาพผู้หญิงเริ่มจากการเข้าถึงข้อมูลสุขภาพที่ถูกต้อง จึงร่วมมือกับพันธมิตรสร้างเครือข่ายเพื่อขับเคลื่อนสังคมให้ตระหนักถึงความสำคัญของสุขภาพผู้หญิง โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมให้ผู้หญิงมีความรู้ในการดูแลสุขภาพที่เหมาะสม สามารถก้าวข้ามความท้าทายด้านสุขภาพได้อย่างมั่นใจ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น” 
 อาจารย์เภสัชกรกฤติน บัณฑิตานุกูล
จากข้อมูลกระทรวงสาธารณสุขปี 2566* พบว่าผู้หญิงไทยมีอัตราการเจ็บป่วยสูงกว่าผู้ชาย โดยมีจำนวน 17 ล้านคน เทียบกับผู้ชายจำนวน 11 ล้านคน โดยภาวะโรคของสตรีที่พบในสัดส่วนสูง ได้แก่ โรคมะเร็งเต้านม โรคมะเร็งปากมดลูก และอาการป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับทารกในครรภ์และถุงน้ำคร่ำ
ขณะที่ในระดับโลก จากรายงาน Global Women's Healthcare Market โดย Research and Market.com* ชี้ให้เห็นว่าผู้หญิงทั่วโลกมีความต้องการผลิตภัณฑ์และบริการเพื่อสุขภาพเฉพาะด้านมากขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องสุขภาพการเจริญพันธุ์ สุขภาพมารดาและทารก สุขภาพเต้านม การจัดการภาวะวัยหมดประจำเดือน และสุขภาพทางเพศ ปัญหาสุขภาพเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกช่วงวัย การจัดกิจกรรมให้ความรู้และรณรงค์อย่างต่อเนื่องจึงมีความสำคัญ เพื่อสร้างความเข้าใจและส่งเสริมการตรวจคัดกรองแต่เนิ่นๆ 


เภสัชกรปัณณวิชญ์ จิตเมธีพงษ์ ผู้อำนวยการหน่วยธุรกิจยาและเวชภัณฑ์ บริษัท โอลิค (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “จากเทรนด์ความท้าทายด้านสุขภาพผู้หญิงที่เกิดขึ้นทั่วโลก รวมถึงในประเทศไทย ทำให้เห็นว่าการดูแลสุขภาพผู้หญิงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ในโอกาสวันสตรีสากลนี้ โอลิคจึงร่วมมือกับพันธมิตรด้านสุขภาพ จัดเวทีเสวนาในหัวข้อ ‘การส่งเสริมสุขภาพผู้หญิง’ เพื่อสนับสนุนการเข้าถึงข้อมูลความรู้ที่ถูกต้องและเชื่อถือได้จากผู้เชี่ยวชาญ โดยเฉพาะข้อมูลที่จะช่วยให้ผู้หญิงตัดสินใจใช้ยาได้อย่างเหมาะสม พร้อมกับเดินหน้าโครงการ Be with HER ที่ทางโอลิค ได้ริเริ่มขึ้น เพื่อเสริมพลังการดูแลสุขภาพผู้หญิง”  เภสัชกรปัณณวิชญ์ จิตเมธีพงษ์
Be with HER - Empowering Her Health Decisions เป็นโครงการที่สร้างสรรค์ขึ้น ภายใต้แนวคิดหลัก 4 ประการ ได้แก่ การเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสุขภาพ การส่งเสริมการดูแลตนเองเชิงป้องกัน การสนับสนุนการตัดสินใจด้านสุขภาพอย่างมั่นใจ และการสร้างเครือข่ายสนับสนุน โดยครอบคลุมกิจกรรมที่หลากหลาย ทั้งการให้ความรู้ผ่านสื่อดิจิทัล การจัดกิจกรรมร่วมกับผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ และการสร้างชุมชนเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านสุขภาพ โดยร่วมมือกับพันธมิตรด้านสุขภาพผู้หญิง เพื่อส่งเสริมให้ผู้หญิงทุกวัยสามารถดูแลสุขภาพตนเองได้อย่างมั่นใจและมีประสิทธิภาพ 
ภายในงานเหล่าตัวแทนจากพันธมิตรสุขภาพได้ร่วมแบ่งปันข้อมูลที่น่าเชื่อถือในประเด็นต่างๆ เริ่มต้นโดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณแพทย์หญิงสฤกพรรณ วิไลลักษณ์ ประธานราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย และประธานคณะกรรมการมะเร็งในสตรีของสมาพันธ์สูตินรีเวชนานาชาติ ได้กล่าวถึงประเด็นปัญหาสุขภาพ และความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสุขภาพผู้หญิงว่า “ปัญหาสุขภาพของผู้หญิงไทยเป็นประเด็นที่น่าจับตามอง เพื่อร่วมกันหาแนวทางสร้างเสริมสุขภาพของผู้หญิงไทยให้ดีขึ้น โดยภาพรวม ปัญหาสุขภาพของผู้หญิงไทยมีลักษณะที่คล้ายคลึงกับแนวโน้มทั่วโลก แต่ก็มีปัจจัยเฉพาะที่ทำให้แตกต่างออกไป เช่น โรคที่พบบ่อยในผู้หญิงไทยอย่างมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม รวมถึงภาวะอ้วนและโรคเรื้อรังอื่นๆ ที่ส่งผลต่อสุขภาพ โดยเฉพาะภาวะซึมเศร้าในกลุ่มผู้หญิงวัยทำงานและผู้สูงอายุ ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับภาระหน้าที่ในครอบครัวและสังคม นอกจากนี้ยังมีปัญหาการเข้าถึงบริการสุขภาพที่ไม่เท่าเทียมในพื้นที่ชนบท ซึ่งต้องมีการดูแลและให้ความสำคัญเพื่อให้ผู้หญิงไทยสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพได้อย่างเท่าเทียมกัน โดยการให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ขจัดความเข้าใจผิด และการกระตุ้นให้ตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอจะช่วยลดความเสี่ยงจากโรคต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้”  ศาสตราจารย์เกียรติคุณแพทย์หญิงสฤกพรรณ วิไลลักษณ์

ขณะที่ทาง สมาคมเภสัชกรรมชุมชน (ประเทศไทย) โดย อาจารย์เภสัชกรกฤติน บัณฑิตานุกูล อุปนายกสมาคมเภสัชกรรมชุมชนคนที่ 2 ภาควิชาเภสัชกรรมปฏิบัติ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เล่าถึงปัญหาและความท้าทายในการให้ข้อมูลด้านสุขภาพ จากมุมของเภสัชกรว่า “ผู้หญิงวัย 30-50 ปี มักเผชิญปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนหรือโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือปัญหาทางเดินปัสสาวะ แต่ส่วนใหญ่ยังเข้าปรึกษาเภสัชกรค่อนข้างน้อย การปรึกษามักเกี่ยวกับการเลือกใช้ยาคุมกำเนิด การรักษาปัญหาประจำเดือน หรือการดูแลกระดูกและข้อในช่วงวัยหมดประจำเดือน”  อาจารย์เภสัชกรกฤติน บัณฑิตานุกูล
“เภสัชกรมีบทบาทสำคัญในการให้คำปรึกษาและแนะนำเกี่ยวกับการใช้ยาคุมกำเนิดโดยคำนึงถึงความปลอดภัยในระยะยาว เช่น การเลือกยาคุมกำเนิดที่ใช้ฮอร์โมนธรรมชาติ ซึ่งมีความปลอดภัยเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ การให้คำแนะนำที่เหมาะสมตามช่วงวัยและไลฟ์สไตล์ของผู้หญิง เช่น การใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหรือการดูแลสุขภาพกระดูก ยังเป็นส่วนสำคัญในการดูแลสุขภาพโดยรวม เภสัชกรควรสร้างความสัมพันธ์ที่ดีและไว้วางใจได้ เพื่อให้ผู้หญิงกล้าเปิดเผยปัญหาสุขภาพและมั่นใจในการติดตามคำแนะนำอย่างต่อเนื่อง” อาจารย์เภสัชกรกฤติน กล่าวเสริม  นายแพทย์โอฬาริก มุสิกวงศ์
นอกจากนี้ นายแพทย์โอฬาริก มุสิกวงศ์ กรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน และสูตินรีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ ได้แนะแนวทางการใช้สื่อประชาสัมพันธ์ให้เหมาะสม และชี้ให้เห็นถึงข้อมูลสุขภาพบางอย่างในโลกดิจิทัลที่อาจทำให้ผู้หญิงเข้าใจผิดได้ โดยกล่าวว่า “ในยุคดิจิทัลที่ข้อมูลสุขภาพผู้หญิงถูกเผยแพร่ผ่านช่องทางต่างๆ เช่น เว็บไซต์ โซเชียลมีเดีย การเข้าถึงข้อมูลง่ายขึ้น แต่ก็ยังมีความเสี่ยงจากข้อมูลที่ไม่ถูกต้องหรือขาดงานวิจัย ซึ่งอาจกระทบการตัดสินใจในการรักษา การเผยแพร่ข้อมูลที่ถูกต้องจึงสำคัญ โดยใช้ช่องทางหลายรูปแบบ เช่น สื่อออนไลน์ โซเชียลมีเดีย วิทยุ และโทรทัศน์ ข้อมูลควรนำเสนอในรูปแบบที่เข้าใจง่าย เข้าถึงง่าย รวมถึงการร่วมมือกับ Influencers ผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ รวมถึงหน่วยงานภาครัฐ จะช่วยเสริมสร้างความเชื่อมั่น และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายให้มากขึ้น” 
ต่อจากงานเสวนาเนื่องในโอกาสวันสตรีสากล โอลิค จะเดินหน้าสร้างความตระหนักเรื่องสุขภาพผู้หญิงอย่างต่อเนื่อง ทั้งการดูแลสุขภาพและการใช้ยาอย่างเหมาะสม โดยเตรียมคอนเทนต์และกิจกรรมให้ความรู้ อาทิ การเปิดช่องทางสื่อสารเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพผู้หญิง พร้อมด้วยกิจกรรมที่จัดร่วมกับพันธมิตรด้านสุขภาพอื่นๆ ตลอดทั้งปี
โอลิค มุ่งมั่นวิจัย พัฒนา และจัดหานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ยาและผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพผู้หญิงอย่างต่อเนื่อง ควบคู่ไปกับการสร้างความตระหนักเรื่องสุขภาพผู้หญิง เพื่อก้าวสู่การเป็นพันธมิตรด้านสุขภาพของผู้หญิง รวมถึงองค์กรทางวิชาการ บุคลากรทางการแพทย์ โรงพยาบาล คลินิก ร้านยา และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตลอดห่วงโซ่อุปทาน เพื่อร่วมกันส่งมอบคุณภาพชีวิตที่ดีและยั่งยืนให้กับผู้หญิงทุกคน 

[*] Health Data Center: HDC กระทรวงสาธารณสุข. (2566). อ้างถึงใน กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2567). สตรีและสุขภาพอนามัย, 3.
[*] Research and Markets. (2024). Women's Health Market Report 2024-2034. https://www.researchandmarkets.com/reports/5806065/womens-health-market-report

เกี่ยวกับ บริษัท โอลิค (ประเทศไทย) จำกัด
โอลิคได้สร้างความสัมพันธ์ที่ยั่งยืนและประสบความสำเร็จจากการเป็นพันธมิตรที่น่าเชื่อถือให้กับบริษัทข้ามชาติ กว่า 30 แห่ง รวมถึงองค์กรใหญ่ๆ ในอุตสาหกรรมยา โอลิคมีโรงงานผลิตที่ปฏิบัติตามมาตรฐาน GMP ตามแนวทาง PIC/S สำหรับการผลิตยาที่มีคุณภาพ ผลิตภัณฑ์ของโอลิคไม่เพียงแต่จำหน่ายในตลาดประเทศไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ยังขยายไปยังญี่ปุ่น ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา และยุโรปอีกด้วย นอกจากนี้ โอลิคยังมุ่งมั่นในการจัดหาเวชภัณฑ์คุณภาพเพื่อการดูแลสุขภาพผู้หญิง อาทิ ยาคุมกำเนิดฮอร์โมนเอสโตรเจนธรรมชาติ ยารักษาเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ยารักษาการปวดเฉียบพลันหลังการผ่าตัดที่ใช้ยาในระยะสั้น และฮอร์โมนทดแทนในหญิงวัยหมดระดู โดยร่วมสร้างการเข้าถึงในการดูแลสุขภาพผู้หญิง ทั้งในประเทศไทยและกลุ่มประเทศอาเซียน เรามีความมั่นใจและพร้อมที่จะให้ความสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของผู้หญิง
|