จับผิด 10 โรคที่มีผลต่อการเคลื่อนไหวในระยะยาว
category: Health
tag: โรงพยาบาลกรุงเทพ โรคหลอดเลือดสมองอุดตัน Stroke โรคพาร์กินสัน โรคกระดูกต้นคอเสื่อม
โรงพยาบาลกรุงเทพ เปิดตัวแคมเปญ Enjoy The move คืนความสุขให้ทุกความเคลื่อนไหว พาไปรู้จักกับ 10 อันดับโรคที่ส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของคุณ พร้อมวิธีสังเกตอาการเบื้องต้น
โรคอันดับที่ 1 คือ โรคหลอดเลือดสมองอุดตัน หรือ Stroke ซึ่งในปัจจุบันพบเร็วขึ้นในกลุ่มอายุ 45 ปีขึ้นไป มักพบในผู้ป่วยเบาหวาน โรคหัวใจ ความดันสูง ไขมันในเลือดสูง สูบบุหรี่จัด หรือมีคนในครอบครัวเคยเป็น Stroke มาก่อน
โรคอันดับที่ 2 คือ โรคพาร์กินสัน ซึ่งเป็นโรคความเสื่อมของสมองที่เกิดจากขาดสารโดปามีน พบมากในอายุ 60 ปีขึ้นไป และอาจพบในวัยกลางคนที่มีสมาชิกในครอบครัวเคยเป็นโรคนี้มาก่อน มักเริ่มด้วยอาการสั่นที่แขนขา กราม หรือใบหน้า กล้ามเนื้อเกร็ง เคลื่อนไหวช้า พูดหรือกลืนลำบาก ซึมเศร้าหดหู่
โรคอันดับที่ 3 ถือเป็นภัยใกล้ตัวของคนในยุคสังคมก้มหน้าทีเดียว กับโรคกระดูกต้นคอเสื่อม (Text Neck) ที่เกิดจากการ "ก้มหน้า" (จนหูต่ำลงมาเกือบแนวเดียวกับไหล่) บ่อยๆ ซ้ำๆ นานๆ จนทำให้กล้ามเนื้อ เส้นประสาท และเส้นเอ็นตึงเกร็งเครียด ซึ่งอาการที่พบบ่อยอาจเป็นเพียงแค่อาการปวดต้นคอนำมาก่อน ลักษณะคล้ายกับการนอนตกหมอน หรือหากมีการกดทับรากประสาทอาจมีอาการปวดชา หรืออ่อนแรงของกล้ามเนื้อแขนร่วมด้วยจนต้องมาพบแพทย์ คนี้มาก่อน มักเริ่มด้วยอาการสั่นที่แขนขา กราม หรือใบหน้า กล้ามเนื้อเกร็ง เคลื่อนไหวช้า พูดหรือกลืนลำบาก ซึมเศร้าหดหู่
โรคอันดับที่ 4 คือ อาการกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุน ซึ่งสามารถเกิดได้ทุกช่วงวัย เด็กมักกระดูกหักจากเล่นซน ผู้ใหญ่มักเกิดจากอุบัติเหตุ ผู้สูงวัยมักเกิดกระดูกหักจากกระดูกพรุน มวลกระดูกที่เปราะบางแม้เพียงลื่นหกล้มก็หักได้ง่าย อาการกระดูกหักมักเห็นชัดเจนจะบวมปวด ไม่สามารถลงน้ำหนักหรือเคลื่อนไหวได้บริเวณที่หัก โดยเฉพาะกระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุจะมีอัตราเสี่ยงสูงต่อการเสียชีวิตจากภาวะแทรกซ้อน ทับรากประสาทอาจมีอาการปวดชา หรืออ่อนแรงของกล้ามเนื้อแขนร่วมด้วยจนต้องมาพบแพทย์ คนี้มาก่อน มักเริ่มด้วยอาการสั่นที่แขนขา กราม หรือใบหน้า กล้ามเนื้อเกร็ง เคลื่อนไหวช้า พูดหรือกลืนลำบาก ซึมเศร้าหดหู่
โรคอันดับที่ 5 ได้แก่ ข้อไหล่ติด พบมากในชายและหญิงวัยสูงอายุที่มีความเสื่อมของเอ็นรอบข้อและปลายกระดูกไหปลาร้าที่อยู่ติดกับข้อมีหินปูนเกาะไปขูดเอ็นรอบข้อจนอักเสบ หรือจากกระดูกงอกบริเวณกระดูกสะบักด้านหน้า หรือเคยได้รับอุบัติเหตุข้อไหล่เคลื่อน มักมีอาการปวดหัวไหล่ ปวดร้าวลงมาบริเวณต้นแขน ปวดเวลาใส่เสื้อ ถอดเสื้อ เวลายกแขนขึ้นสูง จะยิ่งปวดมากขึ้นเวลานอน ทำให้นอนตะแคงทับหัวไหล่ข้างที่ปวดไม่ได้ พลิกตัวไม่ได้ ข้อไหล่ติดหรือเคลื่อนไหวไม่สุด หากเป็นมากอาจไม่สามารถยกแขนเพื่อหวีผมได้ นี้มาก่อน มักเริ่มด้วยอาการสั่นที่แขนขา กราม หรือใบหน้า กล้ามเนื้อเกร็ง เคลื่อนไหวช้า พูดหรือกลืนลำบาก ซึมเศร้าหดหู่
โรคอันดับที่ 6 ได้แก่ ข้อเข่าคลอนแคลน หรือโรคข้อเข่าเสื่อมตามวัย ซึ่งมักพบในหญิง 60 ปีขึ้นไป และพบเข่าเสื่อมก่อนวัยเพิ่มขึ้นในหนุ่มสาววัยทำงาน นักวิ่ง นักฟุตบอลที่ใช้เข่าเยอะ หรือบาดเจ็บหัวเข่าบ่อย อ้วน กระดูกอ่อนผิวข้ออักเสบจากสวมรองเท้าส้นสูงนานๆ โรครูมาตอยด์ โรคเก๊าต์ นั่งพับเพียบขัดสมาธิคุกเข่า หรือนั่งยองๆ นานๆ เข่าเสื่อมจากอุบัติเหตุทำให้เข่าหลวม ดื่มสุราสูบบุหรี่จัด ทานยาสเตียรอยด์ มักมีอาการปวด อักเสบบวมแดงร้อนที่ข้อ ข้อฝืดตอนเช้าขณะลุกขึ้นยืน มีเสียงในข้อขณะเคลื่อนไหว เมื่อยตึงที่น่องและข้อพับเข่า ข้อเข่าขัดเคลื่อนไหวได้ไม่เต็มที่ เจ็บเมื่อลงน้ำหนัก เข่าโก่ง หากทานยาแก้ปวดหรือกายภาพแล้วไม่หาย ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะด้านข้อเข่า หเพื่อดูว่าเข่าสึกมากน้อยแค่ไหน
โรคอันดับที่ 7 ได้แก่ ข้อสะโพกโยกเยก สำหรับใครที่มีอาการปวดง่ามขาด้านหน้าข้างใดข้างหนึ่ง เจ็บแปล๊บที่ข้อสะโพกขณะเดินหรือวิ่ง ปวดสะโพกและปวดเข่า (บางคนปวดเข่าก่อนปวดสะโพก คล้ายโรคปวดหลัง) ปวดในเข่าด้านใน เจ็บเวลาเดิน พึงระวังเพราะนั่นคือสัญญาณเตือนของอาการข้อสะโพกเสื่อม ส่วนใหญ่มากในผู้สูงวัย จากการสึกหรอของผิวข้อต่อ การทรุดตัวของหัวกระดูกต้นขา กระดูกสะโพกหัก ส่วนวัยกลางคน 80% มีปัญหาข้อสะโพกเสื่อมเพราะขาดเลือดเลี้ยงส่วนหัวของกระดูกต้นขา ดื่มสุราสูบบุหรี่จัด ทานยาสเตียรอยด์ เกิดอุบัติเหตุข้อหลุด โรครูมาตอยด์โรคข้อยึดติดแข็ง โรคติดเชื้อ ในเด็กเกิดจากสะโพกหลวมตั้งแต่กำเนิด หรือเบ้าสะโพกตื้นทำให้ข้อหลวมหลุด ส่งผลให้หลังคด ขาสั้นยาวไม่เท่ากัน เดินโยกเยกได้ ปัจจุบันการผ่าตัดข้อสะโพกเทียมใช้เทคนิคแผลเล็ก เพื่อยืดอายุการใช้งานของข้อสะโพกเทียมรุ่นใหม่ยาวนานขึ้น ฟื้นตัวเร็วด้วยโปรแกรมลดปวด
โรคอันดับที่ 8 ได้แก่ หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท หลายคนคงเคยทรมานกับอาการปวดหลังร้าวลงขา ไปถึงน่องหรือหลังเท้าข้างใดข้างหนึ่ง บางคนเจ็บข้อพับเข่าด้านหลัง ปวดน่อง นิ้วเท้าชาหลังเล่นกีฬาแล้วเข้าใจผิดคิดว่ากล้ามเนื้ออักเสบ แต่เมื่อตรวจอย่างละเอียดด้วย MRI แล้วพบว่าเป็นโรคกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท แพทย์จะแนะนำให้ทานยา ทำกายภาพ หรือลดอาการปวดโดยไม่ผ่าตัด “อินเตอร์เวนชั่น” วิธีนี้ลดการทานยาแก้ปวด โดยฉีดยาลดการอักเสบเข้าช่องเส้นประสาทเฉพาะจุด ลดอาการปวดร้าวตามเส้นประสาท ใช้รักษาโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท กระดูกสันหลังทับเส้นประสาทจากความเสื่อม กระดูกสันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาทที่คอหรือเอวได้ ทำให้ลดโอกาสการถูกผ่าตัดลงได้
โรคอันดับที่ 9 คือ โรคปวดศีรษะไมเกรน พบบ่อยในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย อาการปวดตุ๊บๆ เป็นๆ หายๆ ปวดข้างเดียวที่หน้าผากขมับท้ายทอย คลื่นไส้อาเจียน ไวต่อเสียงและแสง คืออาการนำของปวดศีรษะไมเกรน ต่างจากปวดศีรษะจากกล้ามเนื้อตึงตัวที่จะปวดทั้งสองข้างเหมือนถูกรัดบีบหัว หลายคนมักคิดว่าทานยาแก้ปวดเดี๋ยวก็หาย จึงรักษาไม่ถูกชนิดของโรค
และโรคอันดับที่ 10 โรคนอนกรน เป็นสิ่งที่เราไม่ควรละเลย มองข้ามเลยทีเดียว เพราะเสียงกรนขณะหลับ อาการสะดุ้งตื่นตอนดึก ขาขยุกขยิกอ่อนเพลีย ปวดหัวเมื่อตื่น ง่วงนอนตอนกลางวัน ง่วงนอนมากผิดปกติในเวลากลางวัน ส่งผลให้เรียนหรือทำงานได้ไม่เต็มที่ ความจำแย่ ตื่นสาย นอนหลับในขณะขับรถอาจเกิดอุบัติเหตุในท้องถนนได้ อาจเสี่ยงหยุดหายใจขณะหลับได้ ge:TH'>คืออาการนำของปวดศีรษะไมเกรน ต่างจากปวดศีรษะจากกล้ามเนื้อตึงตัวที่จะปวดทั้งสองข้างเหมือนถูกรัดบีบหัว หลายคนมักคิดว่าทานยาแก้ปวดเดี๋ยวก็หาย จึงรักษาไม่ถูกชนิดของโรค
|