หัวใจเต้นผิดจังหวะ...เร็วไปช้าไปอันตรายถึงชีวิต

 

คุณเคยรู้สึกไหมว่าอยู่ดีๆ ใจสั่น ใจหวิว มึนงง คล้ายจะเป็นลม เหนื่อยง่าย อยู่เฉยๆก็เหนื่อย รู้สึกเพลีย ออกกำลังกายไม่ได้เหมือนเดิม นั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนว่าหัวใจคุณกำลังเต้นผิดปกติอยู่ก็ได้

           ด้วยสภาวะสังคมในยุคปัจจุบันที่ทุกคนใช้ชีวิตอยู่บนความเร่งรีบและความจำกัดทำให้ผู้คนส่วนมากต้องประสบกับปัญหาทางด้านสุขภาพ หลายคนอาจมองเป็นเรื่องไกลตัว แต่ถ้าร่างกายเริ่มส่งสัญญาณดังกล่าวข้างต้น ขอบอกเลยว่าอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ เพราะ “การเต้นของหัวใจผิดปกติ” สามารถเกิดได้กับทุกเพศ ทุกวัย และทุกคน เราจึงควรหันมาใส่ใจกันก่อนที่จะสายเกินไป

 


 

          นพ.ไพศาล บุญศิริคำชัย อายุแพทย์โรคหัวใจ สถาบันหัวใจเพอร์เฟคฮาร์ท โรงพยาบาลปิยะเวท กล่าวว่า หัวใจเป็นอวัยะหลักที่สำคัญส่วนหนึ่งของร่างกาย ซึ่งทำงานต่อเนื่องตลอดเวลา มีหน้าที่สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ภายในร่างกาย ในการสูบฉีดเลือดของหัวใจนั้นจะเกิดการบีบตัวและคลายตัวของหัวใจ โดยอาศัยโครงสร้างของกล้ามเนื้อหัวใจ (cardiac muscle) และ ระบบนำไฟฟ้า (conduction system) ภายในหัวใจ สร้างและควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจ ซึ่งอัตราการเต้นของหัวใจของผู้ใหญ่ปกติจะอยู่ที่ 60-100 ครั้ง/นาที เต้นด้วยจังหวะที่สม่ำเสมอ  การเต้นของหัวใจถูกหนดด้วยสัญญาณไฟฟ้าที่ส่งจากเนื้อเยื่อบริเวณหัวใจห้องบนขวา และส่งต่อไปยังห้องหัวใจที่เหลือ ซึ่งกลไกลของหัวใจนี้ถูกควบคุมโดยกระแสไฟฟ้าหัวใจ หากเกิดการลัดวงจรในห้องหัวใจ จะมีผลให้การสูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายเป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพ   โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ

 


 

              (Cardiac Arrhythmia) เกิดขึ้นได้กับผู้ป่วยทุกช่วงอายุ ขึ้นอยู่กับชนิดของหัวใจเต้นผิดจังหวะ ซึ่งอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่ 1.กรรมพันธ์ ซึ่งเป็นความผิดปกติของวงจรไฟฟ้าหัวใจตั้งแต่กำเนิด 2. การเสื่อมสภาพของระบบไฟฟ้าหัวใจ เมื่ออายุมากขึ้น 3.การรับประทานยารักษาโรคบางอย่างเป็นเวลานานติดต่อกัน 4.จากโรคต่างๆ เช่น ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน  ทั้งนี้อาการของโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ จะมีอาการใจสั่น มึนงง ใจหวิว วูบ ความดันโลหิตต่ำ หน้ามืด เจ็บหน้าอก อ่อนเพลีย ไม่มีแรง หมดสติ หรือหัวใจวาย ขึ้นอยู่กับอัตราการเต้นของหัวใจและพยาธิสภาพของหัวใจ การสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ในร่างกายน้อยลง ทำให้อวัยวะขาดเลือด ยิ่งอวัยวะสำคัญอย่างสมอง อาจส่งผลอันตรายทำให้เซลล์สมองตายและเกิดความพิการหรือเสียชีวิตในที่สุด

            ในส่วนการวินิจฉัยโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะทำได้ด้วยวิธีการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) แต่บางครั้งก็ไม่สามารถตรวจได้ด้วยวิธีนี้ เนื่องจากความผิดปกติจะเกิดขึ้นในช่วงสั้นๆ และหายไป ผู้ป่วยยังไม่มีอาการ แพทย์อาจต้องใช้เครื่องมืออื่นๆ เพื่อช่วยในการวินิจฉัย ซึ่งในปัจจุบันมีเทคโนโลยีการตรวจติดตามภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ โดย เครื่องโฮลเตอร์ (Holter monitor) ซึ่งเป็นแผ่นขั้วไฟฟ้าที่ติดผิวหนังบริเวณหน้าอกต่อกับสายที่เชื่อมกับเครื่องที่บันทึกการเต้นของหัวใจที่มีขนาดเล็ก ตรวจติดตามอาการตลอดเวลาที่ทำกิจวัตรประจำวัน ประมาณ 24-48 ชั่วโมง แพทย์จะนำผลที่บันทึกได้มาทำการวิเคราะห์คลื่นหัวใจ เพื่อวินิจฉัยและติดตามการรักษาประเมินประสิทธิภาพการรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะต่อไป ในบางรายที่อาการเกิดขึ้นไม่บ่อย เช่น หลายๆ เดือนครั้ง อาจจำเป็นต้องใช้วิธีการผ่าตัดฝังเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจใต้ผิวหนัง (Implantable loop recorder) เครื่องจะตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจตลอดเวลาและจะบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่ผิดปกติ หรือผู้ป่วยและญาติสามารถกดสวิทช์จากรีโมทที่พกติดตัวให้เครื่องทำการบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ขณะมีอาการได้ โดยเครื่องมีแบตเตอรี่ในตัวสามารถทำงานได้นานถึง 1 ปี

 


 

            นพ.ไพศาล บุญศิริคำชัย  กล่าวเพิ่มเติมว่า  สำหรับการรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะนั้น แพทย์จะพิจารณาจาก สาเหตุ อาการ ความรุนแรงของโรค เพื่อที่จะหาวิธีการรักษาได้อย่างเหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละราย แต่ในผู้ป่วยบางรายที่ทราบแน่ชัดว่ามีสาเหตุมาจากคลื่นไฟฟ้าหัวใจลัดวงจร การวิเคราะห์ระบบไฟฟ้าหัวใจ (Electrophysiology study) จะช่วยนำไปสู่การวินิจฉัยขั้นสุดท้าย โดยจะเป็นการใส่สายสวนขนาดเล็กเข้าไปยังตำแหน่งต่างๆ ภายในหัวใจ ร่วมกับการใช้เครื่องเอกซเรย์ในการเลือกตำแหน่งที่ถูกต้อง โดยปลายของแต่ละสายจะมีความสามารถในการบันทึกคลื่นไฟฟ้าที่เกิดขึ้นภายในหัวใจ ทำให้ทราบว่ามีจุดกำเนิดผิดปกติหรือการนำไฟฟ้าลัดวงจรเกิดขึ้นในหัวใจหรือไม่ หากพบว่ามีจุดกำหนดไฟฟ้าหรือวงจรที่ผิดปกติ แพทย์อาจใช้คลื่นไฟฟ้าความถี่สูงจี้ผนังหัวใจในส่วนที่มีวงจรที่ผิดปกติโดยผ่านทางสายดังกล่าว ทำให้วงจรไฟฟ้าของผู้ป่วยกลับมาปกติและผู้ป่วยมีโอกาสหายขาดได้

            ถึงแม้โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะจะไม่สามารถป้องกันได้ แต่เราสามารถหลีกเลี่ยงโรคนี้ได้ ด้วยการหมั่นดูแลสุขภาพของตัวเองอยู่เสมอ ด้วยการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง เช่น บุหรี่ หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่จะเข้าไปกระตุ้นการทำงานของหัวใจ ทำจิตใจให้สบาย ไม่เครียด ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำ เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ควบคุมน้ำหนักให้พอดีกับรูปร่าง และที่สำคัญที่สุดคือเมื่อพบว่ามีความผิดปกติควรเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทันที ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์และตรวจเช็คสุขภาพเป็นประจำทุกปี เท่านี้ก็สามารถทำให้ห่างไกลจากโรคได้แล้ว 

 

 

 

More
ฝุ่น PM 2.5 อันตรายที่มองไม่เห็นด้วยดวงตา ภัยร้ายทำลายเส้นผม
จุฬาฯ เปิดตัว “วีลแชร์เดินได้” Wheelchair Exoskeleton หุ่นยนต์สวมใส่บนร่างกายมนุษย์
ภัยเงียบ ! หมอนรองกระดูกคอทับเส้นประสาท รักษาไม่ตรงจุดเสี่ยงพิการ
แพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกสันหลัง เผย “รักษาที่ต้นเหตุ” หายอย่างยั่งยืน
‘RSV’ โรคที่ผู้ใหญ่ก็เป็นได้
Others
ป่วนได้อี๊ก..นางเอกหน้าใส เหม่เหม-ธัญญวีร์ ใน "รักหวาน บ้านวุ่น”
Li Yi Tong งามรุมรัวๆ ดูกันยาวต่อเนื่อง 5 เรื่อง
ซุป’ตาร์นัมเบอร์วัน “อั้ม” สุดเจิด! นำทีมร่วมเฉิดฉายงานเปิด “เคทีบี พรีเชียส พลัส เล้าจน์
สาวก GOT7 ฟินกว่าใคร! เอสจัดให้! เลือกติดเกาะกับ GOT7 หรือซิ่งกับโตโยต้า ยาริส
“เอไอเอส” เปิดจำหน่าย ‘iPhone 6s’ และ ‘iPhone 6s Plus’ พร้อมกัน ทั่วประเทศ
Latest
“โรงแรมแกรนด์ เซนเตอร์ พอยต์ ลุมพินี” เปิดตัวอย่างยิ่งใหญ่ พร้อมฉลองครบรอบ 17 ปี โดยมี ‘หลิงหลิง-ออม, แอลลี่ อชิรญา, โต...
“โรงแรม แกรนด์ เซนเตอร์ พอยต์ ลุมพินี” เปิดตัวอย่างยิ่งใหญ่ พร้อมเฉลิมฉลองครบรอบ 17 ปี ของกลุ่มโรงแรม แกรนด์ เซนเตอร์ พอ...
อแมนด้า ออบดัม พิตต้า ณ พัทลุง และทับทิม มัลลิกา ปลื้ม! แมคอดัมส์ (McAdams) ผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์อัลตราพรีเมียมสัญชาติอัง...
TTA มอบเงิน 1 ล้านบาท สนับสนุนการฟื้นฟู รพ.รามาธิบดี หลังเหตุเพลิงไหม้
ไอคอนสยาม เตรียมส่งมอบประสบการณ์ทางวัฒนธรรมสาดความสุขสไตล์ไทย จับมือพันธมิตรรัฐ-เอกชน จัดเทศกาลมหาสงกรานต์มรดกโลกอย่างย...

 

 

Top Hits
“พีพี กฤษฏ์” ขึ้นแท่นพรีเซนเตอร์นมพิสทาชิโอแบรนด์ ซันคิสท์ แบรนด์ระดับโลก พร้อมร่วม ครีเอทเมนูสุดพิเศษด้วยนมพิสทาชิโอที่...
มัดรวมภาพประทับใจจากงาน เนสกาแฟ โกลด์ เครมมา คอลแลปส์ แจ็คสัน หวัง เนรมิต “เดอะ ไฟน์เนส แมนชั่น”
Za DEEP HYDRATION ผิวเปล่งปลั่งอิ่มน้ำมีประกาย สวยตั้งแต่วินาทีนี้
ลดอาการปวดเมื่อยด้วย “ท่านอนที่ถูกวิธี”
Bruce Jenner ตัดสินใจเป็นผู้หญิงในวัย 65 ปี
“เก้า - สุภัสสรา” ชวนช้อปสนุกสุดฟิน กับบัตรเครดิต เซ็นทรัล เดอะวัน สิทธิพิเศษเหนือระดับ ครอบคลุมทุกไลฟ์สไตล์ ที่ศูนย์กา...
10 อันดับอาหารคอเลสเตอรอลสูง