Unblock Your Heart for Every Heart ดูแลหัวใจ...ห่างไกลโรค

 

“โรคหัวใจ” เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของประชากรโลก ในทุก ๆ ปี มีคนกว่า 18 ล้านคนทั่วโลกเสียชีวิตจากโรคหัวใจ

 


 

           โดยจากสถิติผู้ป่วยโรคหัวใจมีแนวโน้มมีจำนวนมากขึ้น ขณะที่ผู้ป่วยมีอายุน้อยลง การดูแลสุขภาพหัวใจให้แข็งแรง ด้วยการเสริมสร้างความแข็งแรงของหลอดเลือด จึงเป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด และเนื่องในวันหัวใจโลก โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ร่วมกับ บริษัทโนวาร์ตีส (ประเทศไทย) จำกัด จึงได้จัดกิจกรรม Unblock your heart for every heart ขึ้น เพื่อให้ทุกคนหันมาใส่ใจสุขภาพหัวใจอย่างจริงจัง ด้วยการสร้างความตระหนักในการดูแลหัวใจอย่างถูกต้อง ผ่านกิจกรรมให้ความรู้ มุ่งให้ทุกคนปรับพฤติกรรมเสี่ยง เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในอนาคต โดยเน้นการดูแลสุขภาพหัวใจด้วยการปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ควบคุมน้ำหนัก รักษาสมดุลของความดันโลหิต ระดับน้ำตาลและระดับไขมันในเลือดให้อยู่ในระดับปกติ เพื่อลดความเสี่ยงการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลวในที่สุด

 


 

 


 

          กิจกรรม Unblock your heart for every heart จัดขึ้นที่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ โดยมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจและหลอดเลือด ร่วมเสวนาให้ความรู้เกี่ยวกับโรคหัวใจ ปัจจัยเสี่ยง และการดูแลหัวใจอย่างถูกต้อง ร่วมด้วยฐานกิจกรรมต่าง ๆ ภายในบริเวณงาน เพื่อให้ความรู้มุ่งเน้นการเสริมสร้างสุขภาพหัวใจ ประกอบด้วย ฐานวัดความดันโลหิต ฐานวัดดัชนีมวลกาย ฐานวัดมวลกล้ามเนื้อและไขมัน ฐานตรวจวัดค่าไขมันในเลือด เพื่อช่วยคัดกรองความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด และส่งเสริมการปรับพฤติกรรมอย่างถูกวิธีจากฐานให้ความรู้ด้านโภชนาการ และการออกกำลังกายอย่างเหมาะสมในแต่ละช่วงวัยให้แก่ประชาชนผู้เข้าร่วมงาน

 


รศ. นพ.ดิลก ภิยโยทัย คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 

            รศ. นพ.ดิลก ภิยโยทัย คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า “โรคหัวใจเป็นปัญหาสำคัญของโลกมาอย่างยาวนาน และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของคนทั่วโลก จากข้อมูลของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขพบว่า ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดกว่า 70,000 คนต่อปี โดยเฉลี่ย 7-8 คนต่อชั่วโมง โดยโรคหัวใจมีหลายชนิด อาทิเช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน โรคกล้ามเนื้อหัวใจ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคลิ้นหัวใจตีบและรั่ว โรคหัวใจพิการตั้งแต่กำเนิด เป็นต้น ซึ่งโรคที่พบบ่อยสุดและเป็นปัญหาสำคัญได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน มีสาเหตุเกิดจากการสะสมของไขมัน โปรตีน และการอักเสบที่บริเวณผนังด้านในของหลอดเลือด จนทำให้หลอดเลือดขาดความยืดหยุ่น และตีบตันในที่สุด ปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด คือ อายุ เพศ ประวัติครอบครัว ระดับความดันโลหิตที่สูง ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ระดับไขมันในเลือดสูง ภาวะอ้วนหรือน้ำหนักเกิน การสูบบุหรี่ โดยมากโรคหัวใจเป็นโรคที่เกิดตามระยะเวลา จึงมักพบในกลุ่มผู้สูงอายุมากที่สุด แต่ปัจจุบันผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในกลุ่มอายุน้อยลง จากพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น การเลือกรับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง โรคอ้วน การออกกำลังกายน้อย ความเครียดที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ผู้ป่วยเริ่มมีอาการตั้งแต่อายุ 30-50 ปี การตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยทำให้ตรวจพบปัจจัยที่ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดได้เร็วขึ้น”

 


นพ.ธัญนพ โชติวนาวรรณ อายุรแพทย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ

 

             “โรคหัวใจมีหลายประเภท แต่โรคหัวใจที่อาการรุนแรงและทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตเร็วที่สุด คือ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันเฉียบพลัน ผู้ป่วยจะมีอาการเหนื่อยง่าย เจ็บแน่นหน้าอกจนทนไม่ไหว อาจนำไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลวและเสียชีวิตได้ ต้องรีบนำตัวส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด เพื่อเปิดหลอดเลือดหัวใจที่ตีบ ด้วยการให้ยา หรือทำบอลลูนขยายหลอดเลือด” นพ.ธัญนพ โชติวนาวรรณ อายุรแพทย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ กล่าวเสริมว่า “แต่ในกรณีที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันแบบเรื้อรัง จะมีอาการเจ็บแน่นเหมือนโดนกดรัด และอาการเจ็บอาจร้าวจากทรวงอกขึ้นมาที่ไหล่ซ้ายจนถึงกราม และปวดร้าวจนถึงบริเวณต่ำกว่าใบหู อาการปวดอาจลามลงไปจนถึงบริเวณเหนือสะดือ มีอาการเป็น ๆ หาย ๆ เมื่อโดนกระตุ้นด้วยการออกกำลัง หรือแม้แต่การเดิน การขึ้นลงบันไดก็อาจกระตุ้นให้มีอาการมากขึ้น ผู้ป่วยที่มีอาการดังกล่าวควรเข้ารับการวินิจฉัยจากแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษา และจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิต ควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย และรับประทานยาเพื่อป้องกันไขมันเกาะในเส้นเลือดไปตลอดชีวิต”

 


รศ. พญ.อิงอร อรุณากูร อายุรแพทย์ โรคหัวใจ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ

 

           “โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน เกิดจากปัจจัยเสี่ยงหลายประการ เช่น การสูบบุหรี่ ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ซึ่งต้องอาศัยการตรวจสุขภาพจึงจะรู้ได้ เพราะไม่มีอาการบ่งบอก โดยมากสามารถตรวจพบปัจจัยเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันได้ในคนอายุ 40 ปีขึ้นไป แต่หากมีปัจจัยเสี่ยงจากกรรมพันธุ์ ความดันโลหิตสูง หรือไขมันในเลือดสูง ก็อาจพบได้เร็วขึ้น หากผู้ป่วยปล่อยให้ระดับไขมันในเลือดสูง ก็จะเพิ่มโอกาสการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจในอนาคต โดยเฉพาะไขมัน LDL-C ซึ่งหากมีปริมาณสูงเป็นเวลานาน หลอดเลือดอาจเกิดอาการตีบและตันได้ การลด LDL-C ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมในระยะยาวจะช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดลงได้ กรณีที่มีปัจจัยเสี่ยงอื่น เช่น โรคอ้วน ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน อาจต้องควบคุม LDL-C ให้ต่ำกว่า 100 มก./เดซิลิตร ด้วยการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ร่วมด้วยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ ก็จะช่วยลดปริมาณ LDL-C ในเลือดได้” รศ. พญ.อิงอร อรุณากูร อายุรแพทย์ โรคหัวใจ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ กล่าว

 


พญ.ธิดา ศรีรัตนา ทาบูกานอน อายุรแพทย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ

 

            ด้าน พญ.ธิดา ศรีรัตนา ทาบูกานอน อายุรแพทย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ กล่าวว่า “ปลายทางของโรคหัวใจ คือ ภาวะหัวใจล้มเหลว ซึ่งสามารถสังเกตอาการได้จากอาการเหนื่อย เช่น ทำกิจกรรมเดิม ๆ เหมือนที่เคยทำแต่รู้สึกเหนื่อยมากขึ้น หากรักษาได้ทันเวลา กล้ามเนื้อหัวใจไม่เสียหาย ผู้ป่วยก็จะสามารถกลับมามีสุขภาพหัวใจปกติได้ เพราะปัจจุบันมียานวัตกรรมที่สามารถรักษาโรคหัวใจล้มเหลวหลายชนิดที่ช่วยลดการเสียชีวิต ลดอัตราการเข้าโรงพยาบาล และช่วยให้หัวใจดีขึ้นได้ บางครั้งผู้ป่วยส่วนใหญ่มักเกิดอาการหัวใจล้มเหลวจากปัจจัยเสี่ยงที่ไม่เคยรู้มาก่อน เช่น ไม่ตรวจสุขภาพ ใช้ชีวิตแบบไม่ระวัง เช่น สูบบุหรี่ ไม่ออกกำลังกาย ไม่ระมัดระวังการรับประทานอาหาร ทำให้โรคดำเนินไปเรื่อย ๆ จนหัวใจล้มเหลวและอาจเสียชีวิตในที่สุด ดังนั้นการป้องกันโรคหัวใจที่ดีที่สุดคือ การตรวจสุขภาพเพื่อวัดระดับความเสี่ยง ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต เลือกรับประทานอาหารให้ดีต่อสุขภาพ ออกกำลังอย่างสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ ลดความเครียด เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรค เพียงเท่านี้หัวใจสุขภาพดีก็จะอยู่กับเราไปได้อีกนาน”

 

 


 

 


รศ. นพ.ดิลก ภิยโยทัย คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 

 

 

 

 

More
พาส่องบริการเฮลธ์เช็คอัพผู้ป่วยสูงวัย“ศูนย์วิทยาการเวชศาสตร์ผู้สูงอายุศิริราช” พร้อมเปิดเฟสแรกรับผู้ป่วยใน – ผู้ป่วยนอก ...
GSK เผยผลสำรวจทั่วโลก ผู้ใหญ่ 86% ประเมินความเสี่ยงและความรุนแรงของโรคงูสวัดต่ำกว่าความเป็นจริง
รอบรู้เรื่องโรคไทรอยด์
โรงพยาบาล พญาไท 2 ชวนระวัง ! อาการ “ปวดหัวไม่รู้เป็นอะไร” จนกลายเป็นเรื่องใหญ่
นอนหลับดีขึ้นด้วย 6 เทคนิคทำง่ายได้คุณภาพ
Others
“BIODERMA Sensibio H2O” ฉลองครบรอบ 20 ปี
เหล่าคนดังสายฟิตร่วมปลุกกระแสโอลิมปิก RIO 2016 ในกิจกรรม HAVAIANAS : FEET-FUN-FIT
ยูนิโคล่ จับมือตำนานแห่งวงการเทนนิส โรเจอร์ เฟเดอเรอร์ และ JW ANDERSON ดีไซเนอร์แถวหน้า ร่วมกันสรรค์สร้างสไตล์ใ...
ลอร์น่า เจน แบรนด์เสื้อผ้าออกกำลังกายชั้นนำเปิดเอาท์เล็ทใจกลางเมือง
ร่วมส่งมอบเมนูอิ่มสุข ต้อนรับเทศกาลถือศีลกินเจ ตั้งแต่วันที่ 15 - 23 ตุลาคม 2566 ณ ห้องอาหารจีนไดนาสตี้ และห้องอาหารเวน...
Latest
ยูนิโคล่ และ JW ANDERSON นำเสนอคอลเลคชันใหม่ ประจำฤดูใบไม้ผลิ/ฤดูร้อน 2024 ผ่านการตีความอันร่วมสมัยของผลงานหัตถศิลป์สไตล...
พานาโซนิค เปิดตัวไดร์เป่าผมใหม่ “นาโนแคร์ EH-NA0J” ไดร์เป่าผมรุ่นท็อปตัวดัง ที่มาพร้อมพลังนาโนอี มอยสเจอร์พลัส ผมชุ่มช...
Coach เปิดตัว The Coach Tabby Shop ลาน PARC PARAGON ต่อยอดกระเป๋ารุ่น Tabby Bag สู่การสร้างประสบการณ์ใหม่ที่เหนือความคาด...
ร่วมแสดงความยินดี ให้แก่อธิบดีกรมยุโรป ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ฯ เซ็นทรัลเวิลด์
ฟื้นฟูผิวกระจ่างใส ผ่อนคลายกายและใจในสไตล์โมรอคโค กับสปาทรีทเมนท์ฮัมมัม ณ สปาเซ็นวารี โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ฯ เซ็นทรัลเวิล...

 

 

Top Hits
Za DEEP HYDRATION ผิวเปล่งปลั่งอิ่มน้ำมีประกาย สวยตั้งแต่วินาทีนี้
ลดอาการปวดเมื่อยด้วย “ท่านอนที่ถูกวิธี”
Bruce Jenner ตัดสินใจเป็นผู้หญิงในวัย 65 ปี
10 อันดับอาหารคอเลสเตอรอลสูง
“พีพี กฤษฏ์” ขึ้นแท่นพรีเซนเตอร์นมพิสทาชิโอแบรนด์ ซันคิสท์ แบรนด์ระดับโลก พร้อมร่วม ครีเอทเมนูสุดพิเศษด้วยนมพิสทาชิโอที่...
มัดรวมภาพประทับใจจากงาน เนสกาแฟ โกลด์ เครมมา คอลแลปส์ แจ็คสัน หวัง เนรมิต “เดอะ ไฟน์เนส แมนชั่น”
เธอคือใคร? Hailey Baldwin สาวที่ Justin คิสในไอจี