กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข มุ่งเน้นแก้ปัญหาโรคเบาหวานเชิงรุก องค์การอนามัยโลกชื่นชมประเทศไทยดูแลเรื่อง โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ NCD ดีที่สุดในเอเชีย
category: News & Event
tag: NCDS วันเบาหวานโลก World Diabetes Day WHO
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้เป็นเจ้าภาพหลัก จับมือกับพันธมิตร จาก สถานทูตเดนมาร์ก และสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ร่วมจัดกิจกรรมรณรงค์วันเบาหวานโลก ปี 2560
การจัดงานวันเบาหวานโลก ปี 2560 หรือ World Diabetes Day 2017 ภายใต้ชื่องาน “ผู้หญิงอ่อน (เบา) หวานมินิมาราธอน” นี้มุ่งแหวังก้ปัญหาโรคเบาหวานเชิงรุก ภายหลังองค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุให้มีการหยุดการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ป่วยเบาหวาน และยังได้ชื่นชมประเทศไทยแก้ปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังติดอันดับ 1 ในเอเชีย
นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค
นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กล่าวในพิธีเปิดงานกิจกรรมรณรงค์วันเบาหวานโลก ปี 2560 “ผู้หญิงอ่อน (เบา) หวานมินิมาราธอน” ว่า โรคเบาหวานเป็นปัญหาสุขภาพที่นานาชาติให้ความสำคัญ โดยองค์การอนามัยโลกได้ระบุให้มีการหยุดการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ป่วยเบาหวาน เป็นหนึ่งใน 9 เป้าหมายของการดูแลกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ซึ่งประเทศไทยให้ความสำคัญเช่นกัน โดยได้บรรจุโรคเบาหวานไว้ในแผนยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีไทย พ.ศ.2554-2563 รวมทั้งโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติได้ร่วมมือกับรัฐบาลไทย สนับสนุนการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อรณรงค์ในการต่อสู้กับโรคเบาหวาน
โดยกระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาเบาหวานโดยเน้นการจัดการเชิงรุก สิ่งที่เป็นหัวใจสำคัญคือ การคัดกรองเพื่อค้นหากลุ่มเสี่ยง กลุ่มผู้ป่วยให้เร็วที่สุด แล้วนำมาขึ้นทะเบียนและดูแลรักษา เพื่อลดภาวะแทรกซ้อน ลดความพิการ และลดการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร โดยยึดหลักการ “สร้าง นำ ซ่อม” สนับสนุนให้ประชาชนมีความฉลาดรอบรู้ด้านสุขภาพ เมื่อประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ และตระหนัก ก็จะนำมาสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยเฉพาะด้านบริโภคอาหาร และการออกกำลังกายส่งผลให้ประชาชนสามารถดูตนเองและครอบครัวให้ห่างไกลจากโรคเบาหวานได้ ซึ่งการจัดงานกิจกรรมณรงค์วันเบาหวานโลก ปี 2560 ครั้งนี้ ถือเป็นความร่วมมือกันจัดการปัญหาโรคเบาหวานที่เป็นปัญหาสำคัญระดับโลก
นายอุฟเฟ่อ โวล์ฟเฮชเชล เอกอัครราชทูตเดนมาร์กประจำประเทศไทย
นายอุฟเฟ่อ โวล์ฟเฮชเชล เอกอัครราชทูตเดนมาร์กประจำประเทศไทย กล่าวในฐานะ 1 ในผู้สนับสนุนการจัดงานวันเบาหวานโลก ว่า สถานการณ์โรคเบาหวานนับเป็นปัญหาสุขภาพ ที่ทั่วโลกต่างให้ความสำคัญ เนื่องจากอุบัติการณ์ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี โรคเบาหวานเป็นหนึ่งในโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ( NCDs) ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ทั้งหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ประชาชนในการที่จะดำเนินการป้องกันและควบคุม NCDs ในส่วนสถานทูตเดนมาร์กได้มีความร่วมมือมาอย่างยาวนาน กับทั้งรัฐบาลไทยและภาคเอกชน รวมถึงบริษัท โนโว นอร์ดิสค์ ฟาร์มา ผู้นำด้านการรักษาโรคเบาหวานระดับโลก ในการสนับสนุนและร่วมจัดหาโครงการต่าง ๆ เพื่อส่งเสริม สนับสนุน ตามแนวการแก้ไขปัญหาเชิงรุก ทางนโยบาลสุขภาพของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข และเรามีความคาดหวังว่า การจัดกิจกรรมรณรงค์วันเบาหวานโลกปี2560 ครั้งนี้ก็เพื่อให้สอดคล้อง และขานรับกับเป้าหมายในการที่ช่วยลดจำนวนของผู้ป่วยเบาหวานได้
พลตรีหญิง ศาสตราจารย์คลินิก แพทย์หญิงอัมพา สุทธิจำรูญ อุปนายกสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี กล่าวว่า กล่าวย้ำถึงความสำคัญของ ผู้หญิงกับโรคเบาหวาน ซึ่งปีนี้ก็ตรงกับคำขวัญ ของงานวันเบาหวานโลก คือ “เบาหวานและผู้หญิง: สิทธิเพื่อสุขภาพที่ดีในอนาคต”เป็นการเน้นย้ำ และให้ความสำคัญกับผู้หญิงและโรคเบาหวาน ซึ่งถือเป็นหนึ่ง ในกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสเป็นโรค และผู้หญิงไทยเกือบครึ่งมีภาวะอ้วน
ทางสมาคมโรคเบาหวานฯได้ให้ความสำคัญในการจัดกิจกรรมนี้มาตลอด โดยได้ร่วมมือกับโรงพยาบาล ร่วมถึงหน่วยงานต่างๆ ในการจัดกิจกรรมรณรงค์ส่งเสริมให้ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน ทุกปี ในปีนี้เรามีความภาคภูมิใจ และยินดีที่ได้ร่วมจัดงานกับทั้งหน่วยงาน เพื่อหวังให้ทุกคนได้ตระหนักรู้ และรณรงค์ร่วมกันที่จะดูแลป้องกันสุขภาพ และให้ความสำคัญ โดยเฉพาะ ผู้หญิง ที่เป็นหนึ่งในกลุ่มเสี่ยง ดิฉันขอ เชิญชวน ให้ทุกคนที่มาในวันนี้ได้มาร่วมกัน มาทำความรู้จัก ผู้หญิงกับเบาหวาน ว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างไรบ้าง เพื่อที่จะดูและตัวท่านเองสำหรับสุภาพสตรี และสุภาพบุรุษก็จะได้ทำความรู้จักเพื่อเข้าใจและดูแลสุภาพสตรีที่อยู่ใกล้ตัวท่านค่ะ
หนังสือ The Blueprint for change
นายอุฟเฟ่อ โวล์ฟเฮชเชล เอกอัครราชทูตเดนมาร์กประจำประเทศไทย (ขวา) มร.มิไฮ อีริเมสซู ผู้จัดการทั่วไป บริษัท โนโว นอร์ดิสค์ ฟาร์มา (ประเทศไทย) จำกัด (ซ้าย) พูดถึง หนังสือ ชื่อ The Blueprint for change สำหรับหนังสือ The Blueprint for change จัดทำขึ้นโดยส่วนหนึ่งได้รับการสนับสนุนข้อมูล อุบัติการณ์โรค ภาวะแทรกซ้อนร่วมถึงค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในประเทศ โดยเฉพาะภาวะแทรกซ้อนไตวาย จาก กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข และ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช) โดยวัตถุประสงค์หลักหนึ่งเพื่อกระตุ้นให้ทุกภาคส่วนเห็นความสำคัญของโรคเบาหวานและภาวะแทรกซ้อน และเพื่อกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือกันเพิ่มมากขึ้นในการที่ร่วมกันพัฒนา บริหารจัดการโรคเบาหวาน ซึ่งสอดคล้องกับ หนึ่งในเป้าหมายหลักของ ระบบสาธารณสุข ประเทศ ในการที่จะควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรังไม่ให้เพิ่มมากขึ้น
|