ปรับความคิด ลดวิกฤตการฆ่าตัวตายจากโรคซึมเศร้า

 

ในแต่ละปีจะมีผู้ฆ่าตัวตายสำเร็จทั่วโลกเป็นจำนวนมากกว่า 1 ล้านคน เมื่อคิดเฉลี่ยพบว่ามีผู้ฆ่าตัวตายสำเร็จ 1 คน ทุกๆ 40 วินาที ทางองค์การอนามัยโลกพบว่า การฆ่าตัวตายนั้นติด 10 อันดับแรกของสาเหตุการตายของประชากรโลก

ผู้ชายมีอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จมากกว่าผู้หญิงถึง 3 เท่า ซึ่งสาเหตุนั้นอาจเกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น เกิดความเครียดสะสม ทั้งเรื่องเรียน เรื่องงาน ปัญหาครอบครัว หรือปัญหาสุขภาพต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อร่างกาย และบีบคั้นต่อจิตใจ จนทำให้หาทางออกไม่ได้ ท้ายที่สุดก็เลือกที่จะจบชีวิตตัวเองด้วยการฆ่าตัวตาย โดยปัญหาเหล่านี้เป็นปัจจัยภายนอก แต่ยังมีอีกหนึ่งปัจจัยภายในที่แฝงเร้นในร่างกายเราที่จะนำไปสู่หนทางของการฆ่าตัวตายโดยไม่รู้ตัวที่รู้จักกันในนาม “โรคซึมเศร้า”  

  

 


 

นพ.จิตริน ใจดี จิตแพทย์ประจำศูนย์จิตรักษ์กรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพ เปิดเผยผลการวิจัยในปัจจุบันนี้พบว่า “โรคซึมเศร้า” นั้นสัมพันธ์กับระดับของสารเคมีในสมองที่ควบคุมเรื่องอารมณ์เศร้าเสียสมดุลไป โดยเฉพาะสารสื่อประสาทที่ชื่อ “เซโรโทนิน” (serotonin) และ “นอร์เอพิเนฟริน” (norepinephrine) ดังนั้นเมื่อแพทย์ให้ยาไปปรับระดับสารเคมีในสมองจึงทำให้อาการซึมเศร้าดีขึ้นได้ จริงๆแล้ว “โรคซึมเศร้า” มีสาเหตุการเกิดหลายอย่าง ซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้ป่วยควรพูดคุยทำความเข้าใจกับแพทย์ผู้รักษาเพื่อที่จะให้การรักษาได้ตรงจุด แต่ในที่นี้จะขอกล่าวในภาพรวมว่า “ทัศนคติของคนในสังคมนั้นถือเป็นเรื่องสำคัญและมีผลกระทบต่อบุคคลที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า” พูดง่ายๆว่าหากเรามีญาติสนิทหรือคนที่รักป่วยเป็นโรคซึมเศร้า แล้วการที่เขาเหล่านั้นจะหายจากโรคนี้ได้ช้าหรือเร็วก็เป็นผลมาจากทัศนคติของคนรอบข้างด้วยเช่นกัน ช่วงนี้กระแสสังคมมีความตื่นตัวให้ความสำคัญกับ “โรคซึมเศร้า” มากขึ้น มีการพูดถึงเรื่องนี้กันในวงกว้างหลายๆคนต่างค้นหาข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับโรคซึมเศร้า ทั้งที่มีนำเสนอในสื่อออนไลน์และในสื่อโทรทัศน์ บางข้อมูลฟังดูแล้วน่าตกใจ ฟังดูน่ากลัว จนบางคนเริ่มสงสัยเกิดคำถามขึ้นในใจว่า “โรคซึมเศร้านั้นคืออะไร” “มีใครบ้างที่เสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้า” “ถ้าฉันเป็นโรคซึมเศร้าแล้วจะต้องทำอย่างไร” คำถามเหล่านี้มีคำตอบ เดี๋ยวจะขออธิบายเป็นภาษาที่ง่ายๆต่อการทำความเข้าใจนะครับ

 


 

            อารมณ์เศร้านั้นเป็นอารมณ์พื้นฐานของทุกๆ คนอยู่แล้ว ทุกคนเกิดมาต้องเคยเศร้า เคยเสียใจ  ส่วนใหญ่อารมณ์เศร้ามักเกิดตามหลังการสูญเสีย หรือ เมื่อบุคคลนั้นต้องเผชิญปัญหาอุปสรรคต่างๆแล้วหาทางแก้ไขไม่ได้  ในคนปกตินั้นอารมณ์เศร้าจะเป็นอยู่ไม่นาน จะค่อยๆ ดีขึ้นเองและในที่สุดก็ปรับตัวได้ ทำใจได้ หลายคนสามารถพลิกวิกฤติเป็นโอกาส กลับมาฮึดสู้แก้ไขในสิ่งที่ทำให้เศร้าได้สำเร็จ ส่วน โรคซึมเศร้า นั้นจะมีลักษณะที่ชัดเจนและเป็นยาวนานกว่า คือ จะมีอารมณ์เศร้าหรืออารมณ์หงุดหงิดที่เป็นมากและเป็นอยู่เกือบตลอดทั้งวัน ติดต่อกันเป็นเวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ อาการไม่มีแนวโน้มที่จะดีขึ้นเอง ทำให้บกพร่องในเรื่องการคิด การตัดสินใจ ไม่สามารถทำหน้าที่การงานหรือการเรียน ได้เหมาะสมดังเดิม บ่อยครั้งคนที่เป็นโรคซึมเศร้ามักจะไม่มีความสนใจในสิ่งต่างๆ รอบตัว เรียกง่ายๆว่า “ไม่อยากทำอะไรทั้งนั้น” “เบื่อหน่ายไปหมด” รวมทั้งมีอาการต่างๆเหล่านี้ตามมาด้วย เช่น กินเปลี่ยนไปจากเดิม เบื่ออาหาร กินข้าวไม่อร่อย หรือบางคนเป็นตรงกันข้าม คือ กินมากขึ้น ทั้งๆที่ไม่หิว  ทำให้มีน้ำหนักตัวเปลี่ยนแปลงขึ้น-ลง เกินกว่าร้อยละ 5 ใน 1 เดือน หรือการนอนเปลี่ยนไปจากเดิม เช่น นอนไม่หลับ นอนได้สั้นกว่าเดิมมาก มักตื่นก่อนเวลาตื่นประจำของตน หรือ บางคนจะนอนทั้งวันโดยไม่อยากลุกไปทำอะไร ตลอดจน ท่าทางเปลี่ยนไปจากเดิม เช่น เชื่องช้า ซึม เก็บตัว หรือบางคนเป็นตรงกันข้าม คือ กระสับกระส่าย กระวนกระวาย รู้สึกอึดอัด รู้สึกอ่อนเพลีย เหมือนคนไม่มีเรี่ยวแรงที่จะทำอะไร หลายคนจะมีอาการปวดเมื่อยตามตัว ปวดหลัง ปวดศีรษะ สมาธิ ความจำไม่ดี ทำให้ทำงานผิดพลาดมากกว่าที่เคย ทำอะไรก็ไม่มั่นใจทั้งๆที่เป็นงานที่ตนเคยทำอยู่เป็นประจำ มีความคิดเชิงลบต่อตัวเองและโลกภายนอก เชื่อว่าตัวเองเป็นคนไม่ดี ไม่คู่ควรกับสิ่งดีๆ คิดว่าไม่มีทางหรือคงไม่มีใครจะมาแก้ไขอะไรให้ดีขึ้นได้ ทั้งๆที่ก่อนหน้านี้ก็ไม่เคยมีความคิดเช่นนี้มาก่อน มีความคิดเรื่องการตายหรือการฆ่าตัวตายอยู่ซ้ำๆ

 


 

            “ความคิดเชิงลบแบบตำหนิตัวเองและความคิดย้ำๆ ซ้ำๆ เกี่ยวกับการฆ่าตัวตายนี้เป็นอาการของโรคซึมเศร้า” เรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญมากเพราะ “คนส่วนใหญ่ที่มีอาการซึมเศร้านั้น มักจะไม่รู้อาการตัวเองหรือถึงรู้ก็ไม่มีเรี่ยวแรงมากพอที่จะเดินไปหาตัวช่วย” ดังนั้นหากคนใกล้ชิดและครอบครัวสังเกตได้ว่าคนที่เรารักมีท่าทีเศร้าๆหรือเปลี่ยนไปจากเดิม ก็ควรแสดงท่าทีเข้าใจ ให้กำลังใจและช่วยเหลือให้ได้รับการรักษาที่ถูกวิธีก็จะทำให้ความคิดหรืออาการต่างๆเหล่านี้ดีขึ้นได้”

            หลายครั้งที่บุคคลที่ป่วยด้วยโรคซึมเศร้านั้นต้องเผชิญศึก 2 ด้าน ทั้งเจอกับอารมณ์เศร้าที่มาจากตัวโรคเองและยังต้องเผชิญกับแรงกดดันจากครอบครัวและคนใกล้ชิด บางคนมักจะมองว่า “โรคซึมเศร้านั้นเป็นโรคที่เกิดจากความอ่อนแอ ความขี้เกียจ” จนเผลอไปวิพากษ์วิจารณ์หรือเอาความคิดของตัวเองไปตัดสินผู้ป่วย  บางคนอาจจะมองว่าโรคซึมเศร้าเป็นแค่เรื่องเล็กๆจึงมองข้ามไปและไม่ได้เข้าไปช่วยเหลือดูแล บางคนอาจจะแนะนำให้ “อย่าคิดมาก” “ทำไมถึงยังไม่หายสักที ปัญหาแค่นี้เอง หรือรีบๆ ให้คำแนะนำไปในสิ่งที่ผู้ป่วยทำไม่ได้จริงในขณะนั้น ท่าทีต่างๆดังที่ยกตัวอย่างมานี้จะไม่เป็นผลดีต่อคนที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า

 


 

            หากป่วยเป็นโรคซึมเศร้า อันดับแรก  ต้องปรับทัศนคติของตัวเองก่อนว่า “โรคซึมเศร้า” ก็เป็นเหมือนโรคอื่นทั่วๆไป เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง เป็นสิ่งที่อาจเกิดขึ้นได้กับทุกคนและไม่ใช่เรื่องน่าอายที่จะพูดคุยเรื่องนี้กับคนใกล้ชิดหรือคนที่ไว้ใจ (ในประเทศไทยพบผู้ป่วยโรคซึมเศร้าประมาณร้อยละ 5 ยิ่งถ้าหากมีอาการมากๆ เช่น มีความคิดเรื่องฆ่าตัวตาย หรือ บกพร่องในหน้าที่การงานที่รับผิดชอบ ก็ควรรีบหาช่องทางรักษาดูแลใจของตัวเองเสียแต่เนิ่นๆ เช่น ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญในด้านนี้โดยเฉพาะนั่นก็คือ จิตแพทย์ นักจิตวิทยา เป็นต้น

 


 

            อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันมีแนวทางการรักษาโรคซึมเศร้าที่มีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพดีอยู่หลายวิธี เช่น การรักษาด้วยยา เป็นการให้ยาเพื่อไปปรับสารเคมีในสมองที่คุมอารมณ์เศร้าให้กลับสู่ภาวะสมดุล การรักษาทางจิตใจ เป็นการรักษาที่เน้นพูดคุยเพื่อให้ผู้ป่วยได้เข้าใจตนเองและปรับทัศนคติ ปรับวิธีการมองตัวเองและฝึกทักษะต่างๆที่จะช่วยให้เอาชนะอาการซึมเศร้าที่เป็นอยู่ การทำกิจกรรมหรือพฤติกรรมบำบัด แนวทางการรักษาผู้ป่วยโรคซึมเศร้านั้นขึ้นอยู่กับประเภทและระดับความรุนแรงของโรค ส่วนใหญ่แล้วการรักษาแบบควบคู่ไปด้วยกันระหว่าง การกินยา การรักษาทางจิตใจและการทำการทำกิจกรรมหรือพฤติกรรมบำบัด จะให้ผลการรักษาที่ดีที่สุด แต่อย่างไรก็ตามหากผู้ป่วยได้รับความรัก ความเข้าใจจากบุคคลรอบข้างด้วยแล้วก็จะยิ่งเป็นตัวกระตุ้นที่สำคัญที่จะทำให้หายจากโรคซึมเศร้าได้ในที่สุด

 


 

 

 

 

More
ตาพร่ามัว...อย่าชะล่าใจ หมอตาเตือนคนวัยทำงานอายุ 30+ ระวังเบาหวานขึ้นจอตา ภัยเงียบที่คุกคามสายตาจากโรคเบาหวาน
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการผ่าตัดรักษาโรคอ้วน โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ประสบความสำเร็จในการรักษาโรคอ้วนทุพพลภาพ สกัดโรคเรื้อรั...
รพ.สมเด็จพระยุพราชปัว จ.น่าน เปิดให้บริการศูนย์ผ่าตัดผ่านกล้องเฉพาะทางและผ่าตัดส่องกล้องรักษาโรคอ้วน
เนสท์เล่เผยเทคนิคดูแลน้ำหนักตัวอย่างยั่งยืน คุมอาหารแบบแฮปปี้ กินได้ไม่ต้องอด
GSK เปิดผลสำรวจพบคนจำนวนมากขาดความรู้เกี่ยวกับ ‘ไวรัสอาร์เอสวี (RSV)’ ทั้งที่เป็นไวรัสที่อันตรายต่อสุขภาพของผู้สูงอายุ
Others
Onitsuka Tiger MEXICO 66 SD เผยโฉมคอลเลคชั่น Spring & Summer 2018
เนสกาแฟเปิดตัว “เนสกาแฟ เรดคัพ สูตรปรับปรุงใหม่ ผสมกาแฟอาราบิก้าคั่วบดละเอียด” ครั้งแรกในประเทศไทย
วิคธีร์รัฐ จัดงาน Taste of Gold with #VickteerutPeople ชวนมิวส์คนดัง ร่วมถ่ายภาพสุดเอ็กซ์คลูซีฟ
‘มาร์กี้’ - ‘มารีน่า’ เซอร์ไพรส์ ‘คุณแม่’ ในงาน ‘ทู มัม วิท เลิฟ’
Choi Woo Sik เปิดตัวพระเอกครั้งแรกคู่Uee ใน Ho Goo's Love
Latest
รับมือข่าวลวง! สังคมออนไลน์ทำคนลังเลฉีดวัคซีน เร่งเสริมความรู้ ป้องกันภัยข้อมูลเท็จ
คิง เพาเวอร์ ต้อนรับเทศกาลแห่งความสุขส่งท้ายปี เปิดแคมเปญ “THE POWER OF FUNTASTIC CELEBRATION 2025” ฉลองทุกความสุข สนุ...
ยูนิโคล่ จับมือ อันยา ไฮนด์มาร์ช ร่วมสร้างสรรค์ผลงานความสนุกสนาน ครั้งแรกในไทย กับคอลเลคชัน UNIQLO x ANYA HINDMARCH Win...
CDC ฉลองใหญ่ครบรอบ 15 ปี “CDC 15th Anniversary Golf Day” ชูบรรยากาศกอล์ฟสุดพิเศษ รวมตัวพ่อตัวมัมแวดวงธุรกิจ-การออกแบบกร...
“คิง เพาเวอร์” ขยายอาณาจักรค้าปลีกสู่ใจกลางเมือง เปิดตัวแบรนด์ใหม่ “คิง เพาเวอร์ ซิตี บูทีก” ที่สุดแห่งประสบการณ์ช้อปมิต...

 

 

Top Hits
“พีพี กฤษฏ์” ขึ้นแท่นพรีเซนเตอร์นมพิสทาชิโอแบรนด์ ซันคิสท์ แบรนด์ระดับโลก พร้อมร่วม ครีเอทเมนูสุดพิเศษด้วยนมพิสทาชิโอที่...
Za DEEP HYDRATION ผิวเปล่งปลั่งอิ่มน้ำมีประกาย สวยตั้งแต่วินาทีนี้
มัดรวมภาพประทับใจจากงาน เนสกาแฟ โกลด์ เครมมา คอลแลปส์ แจ็คสัน หวัง เนรมิต “เดอะ ไฟน์เนส แมนชั่น”
ลดอาการปวดเมื่อยด้วย “ท่านอนที่ถูกวิธี”
Bruce Jenner ตัดสินใจเป็นผู้หญิงในวัย 65 ปี
“เก้า - สุภัสสรา” ชวนช้อปสนุกสุดฟิน กับบัตรเครดิต เซ็นทรัล เดอะวัน สิทธิพิเศษเหนือระดับ ครอบคลุมทุกไลฟ์สไตล์ ที่ศูนย์กา...
10 อันดับอาหารคอเลสเตอรอลสูง