เทคนิคลดการกินอาหารเค็ม
category: Diet & Exercise
tag: สุจิตต์ สาลีพันธ์ เกลือ โซเดียม ลดน้ำหนัก เคล็ดลับ
ต่อไปนี้เราจะมาคุยกันเรื่องลดอาหารรสเค็มค่ะ ซึ่งในที่นี้หมายถึง ปริมาณโซเดียมในอาหาร ได้แก่ เครื่องปรุงรสเค็มต่าง ๆ อาหารหมักดองเค็ม อาหารสำเร็จรูป ขนมขบเคี้ยว เบเกอรี น้ำจิ้ม เช่น น้ำจิ้มไก่ น้ำจิ้มสุกี้
ชิมก่อนปรุงทุกครั้ง น้ำปลา 1 ช้อนชา ให้โซเดียม 500 มิลลิกรัม ดังนั้นต้องชิมก่อนปรุงทุกครั้ง ลดปริมาณให้น้อยลงครึ่งหนึ่ง เช่น เคยเติมน้ำปลา 1 ช้อนชา ก็ให้ลดลงเหลือครึ่งช้อนชา หากทำแบบนี้ได้ 2 สัปดาห์ผ่านไป คุณจะลดกินเค็มลงได้
ลดการเติมเครื่องปรุงรส หมายถึงเครื่องปรุงรสทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็น ซุปก้อน น้ำปลา เกลือ ซอสต่าง ๆ ซีอิ๊ว เพราะมีปริมาณโซเดียมอยู่ในปริมาณมาก เกลือ 1 ช้อนชา มีโซเดียม 2,000 มิลลิกรัม ให้ปรุงอาหารด้วยเครื่องเทศ เช่น หอม กระเทียม ขิง ข่า รากผักชี พริกไทย แทน
ลดการกินอาหารแปรรูปต่าง ๆ อาหารบางอย่าง เช่น เนื้อสัตว์ต่างๆ เวลาซื้อมาปริมาณมากเมื่อกินไม่หมด บางคนก็จะถนอมอาหาร หรืออาหารแปรรูปต่างๆ ก็โดยใช้เกลือเยอะ เช่น หมูแดดเดียว ไข่เค็ม ปลาเค็ม ผักกาดดอง หมูยอ แหนม เบคอน เต้าหู้ยี้ ใครที่ชอบทานอาหารเหล่านี้ควรลดการกินให้น้อยลง ยกตัวอย่าง ไข่ต้ม 1 ฟอง ให้โซเดียม 90 มิลลิกรัม แต่เมื่อมาทำเป็นไข่เค็มแล้ว มีโซเดียมถึง 480 มิลลิกรัมเลยทีเดียว
ลดปริมาณน้ำจิ้ม เคยใช่มั้ย เวลาไปกินอาหารนอกบ้าน เค้าให้น้ำจิ้มมา แบบว่าไม่พอขออีกๆๆ น่ะ อาจต้องเปลี่ยนตัวเองแล้ว กินน้ำจิ้มน้อยๆ มุ่งเน้นสุกกี้ ผัก เนื้อสัตว์ในหม้อจะดีกว่า ซึ่งไม่ได้หมายถึงแค่น้ำจิ้มสุกี้เท่านั้น รวมถึงน้ำจิ้มหอยทอด น้ำจิ้มหมูกระทะพ บาร์บีคิว ทั้งหลายด้วยนะ
ลดการกินขนมกรุบกรอบ ส่วนใหญ่มีรสเค็มเกินความ ลองหาที่ลดเค็มนะคะ หรือถ้าเป็นไปจะดีต่อรอบเอวด้วย ถ้าลดความถี่ในการกินให้น้อยลง
ไม่ควรมีขวดน้ำปลา ซีอิ้ว ซอส เกลือ บนโต๊ะอาหาร บางคนก็ขี้เกียจไปหยิบ เลยกลายเป้นว่าไม่ปรุงไปดดยปริยาย
อ่านฉลากโภชนาการก่อนซื้อทุกครั้ง ถ้าคุณมองไปที่ปริมาณโซเดียม หากเห็นว่าเยอะ เชื่อว่าคุณจะวางทันที
ลดการกินอาหารกึ่งสำเร็จรูป อาหารกึ่งสำเร็จรูปทั้งหลายมักมีปริมาณโซเดียมอยู่มาก (ดูที่ฉลากได้เลย) ใครชอบกินเวลาจะเติมเครื่องปรุงที่เขาให้มา แนะนำให้เติมครึ่งเดียวพอค่ะ แล้วเติมพวกเนื้อสัตว์ ไข่ ผัก เข้าไปจะได้สารอาหารเพิ่มขึ้น
|