The Dressmaker ล้างแค้นด้วยแฟชั่น งดงามอย่างมีสไตล์!
category: Movie & Drama
tag: The dressmaker movie kate winslet
เคท วินสเลต แซ่บสุดสะพรึงคอสตูมสวยหยุดหายใจ เธอคือนางเอกของหนังพีเรียดอย่างไม่ต้องสงสัย เสื้อแบรนด์เนมที่ตัดขึ้นมาใหม่เพื่อใส่ในเรื่องนี้ บอกได้เลยงดงามมาก ด้วยลุคสตรองจริงๆ
เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายนับว่าเป็นสิ่งสำคัญในภาพยนตร์เรื่อง The Dressmaker ไม่แพ้เรื่องราวที่เข้มข้นซึ่งในผลงานเรื่องนี้เสื้อผ้าทุกชุดที่ตัวละครสวมใส่นั้น มีความหมายลึกซึ้งมากขึ้นไปอีก เพราะมันสื่อถึงการเป็น ‘เครื่องอำพรางความรู้สึก’ และเป็น ‘เครื่องมือเพื่อเอาคืน’โดยเฉพาะ ทิลลีดันเนจ(เคตวินส้ล้ต) ดีไซเนอร์สาวที่กลับมายังบ้านเกิดเพื่อล้างแค้น เธอหาประโยชน์จากหญิงชาวเมืองและล่อใจด้วยความรู้สึกของการแข่งขันและความหยิ่งยโสของแต่ละคนผู้หญิงเมืองดันกาทาร์ไม่ได้ดูดีหรือรู้สึกดีมานานมากแล้วดังนั้นนี่จึงเป็นวิธีล่อหลอกให้พวกเขามีความหวังลมๆแล้งๆจากนั้นทิลลีก็แค่หยิบยื่นเชือกหรือริบบิ้นให้พวกเธอใช้แขวนคอ!
การออกแบบเครื่องแต่งกายใน“The Dressmaker”นั้นแบ่งความรับผิดชอบออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกรับผิดชอบโดย ‘มาร์ก็อตวิลสัน’คอสตูมดีไซเนอร์ชื่อดังผู้อยู่เบื้องหลังผลงานแสนโดดเด่นอย่าง Lawless, The Thin Red Lineโดยมาร์ก็อตรับหน้าที่ออกแบบเครื่องแต่งกายให้เฉพาะตัวละคร ทิลลีดันเนจ (เคตวินสเล็ต) หญิงสาวที่เดินทางกลับมาบ้านในเมืองเล็กๆของออสเตรเลียและเตรียมใช้จักรเย็บผ้าและเครื่องแต่งกายสไตล์ห้องเสื้อชั้นสูงเป็นเครื่องมือแปลงโฉมสาวๆชาวเมืองไปพร้อมๆกับการได้แก้แค้นในสิ่งที่พวกเขาเคยทำผิดกับเธอเอาไว้ในอดีต ... ในขณะที่ ‘มาเรียนบอยซ์’ จะรับหน้าที่ออกแบบเครื่องแต่งกายให้กับตัวละครอื่นๆ ที่เหลือในภาพยนตร์ [ขวาสุด]ทิลลี (เคตวินสเล็ต) กับชุดเดรสสีเขียวเกล็ดทอง ซึ่งเป็นชุดที่‘มาร์ก็อตวิลสัน’ผู้ออกแบบเครื่องแต่งกายโปรดปรานที่สุด
เครื่องแต่งกายของชาวเมืองดันกาทาร์: ก่อนและหลังแปลงโฉม
ในสมัยหลังสงครามทศวรรษที่1950เป็นช่วงเวลาที่แฟชั่นมีขบวนการแข่งขันกันอยู่สองลักษณะคริสเตียนดิออร์ (Christian Dior) ได้สร้างสรรค์ผลงาน‘รูปโฉมใหม่’(The New Look) ซึ่งนำผู้หญิงกลับไปสวมชุดรัดทรง หรือที่เรียกกันว่า ‘คอร์เซ็ต’ (Corset) ส่วนมาดามวิยอนเนต์(Madame Vionnet) และบาเลนซิเอก้า (Balenciaga) นั้นเป็นนักออกแบบเสื้อผ้าที่ไม่ใช้ลูกเล่นกลเม็ดทั้งคู่พวกเขาใช้สิ่งที่มีอยู่แล้วและวิธีที่ผืนผ้าทาบทับบนร่างกายเพื่อเสริมจุดเด่นและอำพรางจุดด้อย เครื่องแต่งกายของชาวเมืองดันกาทาร์: ก่อนและหลังแปลงโฉม
อีกหนึ่งส่วนสำคัญใน The Dressmaker ที่สำคัญไม่แพ้การออกแบบชุดของทิลลีดันเนจก็คือ การเนรมิตเครื่องแต่งกายของชาวเมืองดันกาทาร์... โดยงานนี้ มาเรียนบอยซ์ผู้รับหน้าที่ออกแบบเครื่องแต่งกายถึงกับต้องนำเสื้อผ้ากว่า 350 ชุดมาคัดเลือกเพื่อให้เหล่านักแสดงและตัวประกอบทั้งหมดได้สวมใส่ภายในระยะเวลาของช่วงขั้นตอนการเตรียมงานสร้างเพียง 8 สัปดาห์ (เกอทรูดแพร็ตต์ - ซาราห์สนุ้ก:ก่อนและหลังแปลงโฉมครั้งใหญ่สุดงาม)
สำหรับแนวคิดและแรงบันดาลใจต่อการร่ายมนตร์แปลงโฉมชาวเมืองดันกาทาร์ให้ออกมาโดดเด่นเป็นสง่านั้น มาเรียน บอยซ์ ได้รับแนวคิดมาจากการลองจินตนาการถึงสิ่งที่ผู้คนภายในเมืองดันกาทาร์ได้อ่านหรือชมกันในชีวิตประจำวัน เช่น นิตยสาร, ภาพยนตร์ ... สิ่งเหล่านั้นคือภาพแบบอย่างสำหรับพวกเขา ซึ่งในช่วงทศวรรษนั้นแฟชั่นจากกรุงปารีสก็ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย รวมไปถึงยังมีผลงานภาพถ่ายของสองช่างภาพแฟชั่นพอร์ตเทรตแสนโด่งดังอย่าง ริชาร์ดอวาดอน และ เออร์วิงเพนน์ปรากฏให้เห็นตามนิตยสารชื่อดังมากมาย
(เกอทรูดแพร็ตต์ - ซาราห์สนุ้ก:ก่อนและหลังแปลงโฉมครั้งใหญ่สุดงาม)
การแปลงโฉมที่ทำให้ทุกคนในเมืองดันกาทาร์ต้องทึ่งนั้นเริ่มต้นขึ้นจาก เกอทรูด แพร็ตต์ (ซาราห์สนุ้ก) โดยที่ทิลลีนั้นแปลงโฉมเกอทรูดจากลูกเป็ดขี้เหร่จนทำให้เธอควงหนุ่มในฝันได้อยู่หมัด ตู้เสื้อผ้าของเกอทรูดนั้นราวกับเป็นการยกชุดมาจากงานถ่ายภาพแฟชั่นของนิตยสารโว้กในช่วงทศวรรษที่ 1950 ... “เสื้อผ้าของฉันสวยงามมาก และพวกเขาลงทุนลงแรงที่จะทำให้ดูสมบูรณ์แบบ” ซาราห์สนุ้กผู้รับบทกล่าวเสริม
นี่คือภาพยนตร์ที่แสดงให้เห็นถึงการต่อสู้เพื่อพิสูจน์ความจริงของผู้หญิงคนหนึ่งและยังเป็นผลงานที่จะทำให้ได้เห็นว่าแฟชั่นนั้นจะช่วยยกระดับคุณค่าของผู้หญิงทุกคนไปตลอดกาลร่วมพิสูจน์การแสดงที่รับรองว่าจัดจ้านทั้งฝีมือและสไตล์ ...ล้างแค้นด้วยแฟชั่น เอาคืนแบบโอกูตูร์เคตวินสเล็ต ใน “The Dressmaker” : 7 มกราคมปี2016ในโรงภาพยนตร์
|