รู้ทันพลังงานจากอาหารจานเดียว
category: Diet & Exercise
tag: สุจิตต์ สาลีพันธ์ พลังงานจากอาหารจานเดียว ข้าวขาหมู ข้าวไข่เจียว ลดน้ำหนัก
คนไทยทั่วไปเมื่อออกจากบ้านไปทำงาน ไปเรียนหนังสือ หรือแม้แต่ไปเที่ยว ส่วนใหญ่มักฝากท้องกับอาหารจานเดียว ซึ่งอาหารประเภทนี้มีขายตลอดทั้งวัน เรียกว่าตลอดคืนเลยก็ว่าได้
ตั้งแต่ในร้านอาหารตามสั่ง อาหารตามรถเข็น อาหารที่หาบขาย และร้านสะดวกซื้อที่เปิดขาย 24 ชั่วโมง สิ่งต่างๆ เหล่านี้ทำให้เรามีโอกาสได้รับอาหารมากเกินความต้องการ ถ้าไม่รู้จักควบคุมปริมาณการกินแล้วละก็ความอ้วนถามหาแน่นอน
ดังนั้นลองมาทำความเข้าใจกับพลังงานจากอาหารจานเดียวดูว่า แต่ละจานให้พลังงานแตกต่างกันอย่างไร และอาหารจานเดียวที่เป็นอาหารแบบเดียวกัน แต่ขายในสถานที่ต่างกันก็ให้พลังงานต่างกัน หรือแม้แต่คนปรุงอาหารต่างกัน ก็ได้พลังงานต่างกันด้วย ซึ่งขึ้นอยู่กับส่วนประกอบของอาหารจานนั้น ๆ
อาหารจานเดียวมื้อแรกของเรา คืออาหารมื้อเช้า ได้แก่
จะเห็นได้ว่าโจ๊กหมู 1 ชามปริมาณ 415 กรัม ให้พลังงาน 253 กิโลแคลอรี ปริมาณ โจ๊กหมู 1 ชาม นี้อาจจะมากสักหน่อย เพราะมีส่วนของน้ำอยู่ด้วย แต่ให้พลังงานน้อยกว่าข้าวขาหมู ข้าวมันไก่ และข้าวไข่เจียวหมูสับ ซึ่งอาหาร 3 ชนิดหลังนี้ให้พลังงานค่อนข้างสูง เพราะมีส่วนประกอบของไขมันหรือน้ำมันปนอยู่ด้วย ในส่วนเมนูของข้าวขาหมู 1 จาน ที่มีน้ำหนักเท่ากัน อาจจะให้พลังงานน้อยกว่า ถ้าขาหมูที่อยู่ในจานนั้นเป็นเนื้อล้วน ๆ ไม่ติดหนังและไม่ปนมัน พลังงานที่ได้ก็จะลดลง เช่นเดียวกับไข่เจียวหมูสับ เราอาจจะทานข้าวไข่เจียวหมูสับในปริมาณที่เท่ากันแต่ได้พลังงานเท่ากันก็ได้ โดยการปรุงไข่เจียวให้ใช้น้ำมันน้อยๆ หมูสับที่ใส่ในไข่เจียวก็ใช้หมูเนื้อแดง เพราะน้ำมันที่เราใช้นั้น 1 ช้อนชา ให้พลังงาน 45 กิโลแคลอรี
อย่างไรก็ตามอาหารจานเดียวที่เป็นอาหารมื้อเช้าไม่ว่าจะเป็น โจ๊กหมู ข้าวมันไก่ ข้าวขาหมู ข้าวไข่เจียวหมูสับ นั้น ถือว่ายังไม่ครบชนิดอาหารตามที่แนะนำคือ เพราะขาด ผัก เราสามารถทานเพิ่มได้ เช่น จานข้าวมันไก่ ต้องมีแตงกวาหรือฟักเขียวในน้ำแกงจืด ส่วนข้าวไข่เจียวหมูสับ เวลาปรุงอาจจะใส่มะเขือเทศ หอมหัวใหญ่ หรือผักอื่นๆ และทานคู่กับแตงกวาก็ได้แบบนี้ก็จะได้ครบ และควรหาผลไม้มาทานหลังมื้ออาหารเพิ่มอีกอย่างด้วยนะคะ
เมื่อมาถึงมื้อกลางวัน เรามักจะต้องทานกันแบบทำเวลา เพราะมนุษย์เงินเดือนมีเวลาพักรับประทานอาหารกลางวันแค่ 1 ชั่วโมง นอกจากนี้ร้านอาหารใกล้ที่ทำงานก็จะขายเมนูอาหารเดิม ๆ ที่ทานกันอยู่ทุกวัน คงจะต้องสับเปลี่ยนเมนูอาหารกันเองด้วยนะคะ ทานซ้ำๆทุกวันไม่ดีแน่ อาหารจานเดียวที่กินกันบ่อย ได้แก่
อาหารประเภทก๋วยเตี๋ยวที่เป็นน้ำใสนั้นมักจะให้พลังงานไม่มากนัก และยิ่งถ้าเราบอกว่าไม่ใส่กระเทียวเจียวก็จะทำให้พลังงานลดลงไปอีก แต่ถ้าเป็นก๋วยเตี๋ยวต้มยำมีการใส่ถั่วลิสง และยิ่งใส่มากพลังงานก็จะเพิ่มขึ้น เพราะถั่วลิสง 1 ช้อนกินข้าวให้พลังงานประมาณ 45 กิโลแคลอรี คุณค่าทางโภชนาการของก๋วยเตี๋ยวส่วนใหญ่นั้นจะได้ค่อนข้างครบคือ มีทั้งข้าว – แป้ง ผัก เนื้อสัตว์ และไขมัน แต่ใช่ว่าจะทานเท่าไรก็ได้ เพราะใน 1 ชามของก๋วยเตี๋ยว ให้พลังงานน้อยก็จริง แต่ถ้าทานหลายชามพลังงานก็จะได้มากขึ้นจนอาจจะมากเกินความต้องการในมื้อนั้นๆ ได้
สำหรับอาหารประเภทผัด ที่นิยมเป็นอาหารกลางวันได้แก่
จากตารางข้างบนจะเห็นได้ว่าอาหารประเภทผัด ๆ ที่เป็นอาหารจานเดียวเหล่านี้ค่อนข้างให้พลังงานสูง เพราะต้องใช้น้ำมันในการปรุงจำนวนมาก ยกตัวอย่างง่าย ๆ อย่าง ก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่ผัดซีอิ๊วใส่ไข่ เมื่อเริ่มปรุง เจ้าข้องร้านตั้งกระทะ ใส่น้ำมันลงไปอาจจะ 1 – 2 ช้อนโต๊ะ แล้วใส่หมูชิ้นบาง ๆ ลงไป ผัดให้สุกจากนั้นใส่เส้นใหญ่ (ที่ซื้อมาจากตลาดสด) ที่มีการคลุกน้ำมันมาแล้วในระดับหนึ่งแล้วก็ผัดรวมกัน หรือจะใส่ไข่ลงไปก่อนก็ได้ เมื่อใส่ไข่ลงไปแล้วก็จะเติมน้ำมันลงไปอีก จากนั้นใส่ผักคะน้าที่เตรียมไว้ ใส่เครื่องปรุงรส ผัดจนได้ที่ ก็จะได้ก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่ผัดซีอิ๊ว 1 จาน บอกเลยว่าให้พลังงานมากกว่าอาหารจานเดียวชนิดอื่น ๆ แน่นอน
ดังนั้นในการเลือกอาหารจานเดียวเพื่อรับประทานก็ควรจะให้ความสำคัญในการเลือก เป็นอย่างมาก ถ้าทานไปแล้ว 1 จาน ก็ต้องไปลดปริมาณอาหารในมื้อถัดไป แบบนี้จะทำให้เราสามารถควบคุมปริมาณพลังงานจากอาหารที่เรารับประทานในแต่ละวันได้ หมายถึงในแต่ละวันสามารถปรับปริมาณอาหารการกินในแต่ละมื้อให้ได้รับในปริมาณที่พอเหมาะนั่นเอง
ขอบคุณบทความจากนิตยสาร. Slimming โดยสุจิตต์ สาลีพันธ์
|