ซงจุงกิ ร่วมงานแฟชั่น Dior Homme ที่รันเวย์ฮ่องกง
category: News & Event
tag: ซงจุงกิ Song Joong Ki Kris Van Assche Dior Homme Club Cheval Descendants of The Sun
Dior Hommeได้จัดแสดงแฟชั่นโชว์คอลเล็กชั่นWinter 2016-2017 ที่ฮ่องกง
หลังจากแฟชั่นโชว์ที่ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ และกวางโจว แฟชั่นโชว์ระดับโลกครั้งที่ 4 นี้จัดขึ้นที่ ชอว์ สตูดิโอ (Shaw Studio) นับเป็นครั้งแรกที่ Dior Hommeได้ฝากรอยเท้าไว้ที่รันเวย์ของฮ่องกงด้วยโชว์
“THE ART OF FALLING APART”
โดยมีเหล่าเซเลบริตี้ชื่อดังระดับโลกอย่าง Song Joong Ki (ประเทศเกาหลีใต้),Wu Chun (ประเทศไต้หวัน), Shawn Dou(ประเทศจีน), และ Jin Akanishi (ญี่ปุ่น)(เอกสารแนบที่ 1)รวมทั้งแฟชั่นนิสต้าและบุคคลมีชื่อเสียงในสังคมของฮ่องกงมาร่วมงานแฟชั่นโชว์ครั้งนี้อย่างคับคั่ง อาทิ Nick Cheung, Gaile Lai, Kary Ng, Alex Lam, Amanda S., Pansy Ho, Laurinda Ho, Mario Ho, Harris Chan, Andrew Chan, Wesley Wong, Wyman Wongเป็นต้น
ภายในแฟชั่นโชว์ตกแต่งด้วยจอ LED ที่กำลังฉายภาพยนตร์ของ Willy Vanderperre - ผลงานชิ้นพิเศษสำหรับแฟชั่นโชว์ครั้งนี้โดยเฉพาะ - เหล่าชายหนุ่มที่ปรากฎกายบนรันเวย์คือกลุ่มเดียวกับตัวเอกของภาพยนตร์เรื่องนี้
คลับ เชอวาล (Club Cheval) วงดนตรีแนวอิเล็คทรอนิกจากประเทศฝรั่งเศส ได้มาแสดงดนตรีอะคูสติกที่งาน After Party โดยสมาชิกในวงอย่างCanblaster, Myd, Sam Tiba และ Panteros666 ได้ร่วมกันสรรสร้างดนตรีที่รวบรวมเอาดนตรีอิเล็กทรอนิคหลายแนวมาผสมผสานกันจนเกิดดนตรีแนวฟิวเจอร์ริสติคอาร์แอนด์บี
เกี่ยวกับคอลเล็กชั่น Dior Homme Winter 2016-2017
เราจะแปรเปลี่ยนไปสู่ปัจจุบันโดยไม่โหยหาถึงอดีตได้อย่างไร?นี่คือคำถามที่ Kris Van Asscheครีเอทีฟไดเร็กเตอร์แห่ง Dior Homme ตั้งเป็นโจทย์สำหรับซีซั่นนี้
“ไอเดียแห่งการผสมผสานแฝงอยู่ในคอลเล็กชั่นนี้” Kris Van Assche กล่าว “ปัจจุบันคนเราไม่ได้จำกัดตัวเองอยู่ในขอบเขตใดขอบเขตหนึ่ง แต่สามารถเปลี่ยนแปลงและเข้าได้กับหลายสิ่งในคราเดียว ซึ่งอาจจะเป็นเพราะเรื่องของสไตล์ อย่าง New Wave หรือการเล่นสเก็ตบอร์ด ซึ่งเป็นสิ่งที่พวกเขาเติบโตมา แต่สิ่งที่สำคัญคือสิ่งที่ล้วนมีอิทธิพลมาถึงปัจจุบัน ร่องรอยแห่งความทรงจำและขนบต่างๆ ยังคงไม่ลางเลือนไป ทว่ามันไม่ได้เกิดขึ้นจากความโหยหาอดีต แต่เป็นการผสมผสานสิ่งที่หล่อหลอมตัวเราในอดีตกับความเป็นไปในปัจจุบัน”
รันเวย์คอลเล็กชั่นนี้ดูราวกับจัตุรัสประกอบพิธี ที่สว่างไปด้วยไฟนีออนสีแดง ท่ามกลางเสียงอันหนักแน่นของดนตรีอิเล็คทรอนิคส์ (Electronic Body Music) ไอเดียของคอลเล็กชั่นนี้ได้ถูกนำเสนอบนรันเวย์ในโทนสีดำ แดง และขาว
ซิลูเอ็ตของลุคต่างๆ นั้นโดดเด่นด้วยวอลลุ่มและรูปทรง สร้างสรรค์ขึ้นจากวัสดุชั้นดีแต่สามารถสวมใส่ได้ในทุกๆ วัน ขนบธรรมเนียมการตัดเย็บต่างๆ ของแฟชั่นเฮ้าส์ดูขัดแย้งกับเสื้อผ้าสไตล์ทหาร นิยามแห่งความหรูหราในแบบเดิมๆ ได้ถูกตั้งคำถาม และถูกแทนที่ด้วยเทคนิคและรสนิยมใหม่
ลวดลายอย่างเช่นลายตาราง Rob Roy Macgregor tartan ได้กลายมาเป็นลายตารางสไตล์อเมริกัน (All-American buffalo plaid)ในโทนสีแดงสลับดำ ที่ตัดเย็บจากเนื้อผ้าชนิดต่างๆ กางเกงทรง Oxford bags ได้ถูกนำมาประยุกต์ให้เป็นกางเกงทรงพอง สไตล์ workwear ของนักเล่นสเก็ตบอร์ด เทคนิคการตกแต่งสไตล์กูตูร์ถูกนำมาใช้กับนิตแวร์ ลายถัก Fair Isles แบบดั้งเดิมจนเกิดเป็น เอฟเฟ็กต์ที่ดูแปลกตา ในขณะที่ดอกไม้อันคลาสสิคของดิออร์กลายมาเป็นสัญลักษณ์แห่งความเย้ายวนแทนความสวยงามและหรูหรา
อย่างไรก็ตาม ความรู้สึกของการเฉลิมฉลองและความขบถได้ถูกหลอมรวมไว้ด้วยกันในคอลเล็กชั่นนี้ และปรากฏเด่นชัดขึ้นมาด้วยภาพเคลื่อนไหวบนฉากหลัง ซึ่งเป็นโปรเจ็กต์ภาพยนตร์จากฝีมือของ Willy Vanderperre ที่ทำขึ้นมาเฉพาะสำหรับโชว์นี้ และภาพของนายแบบหนุ่มที่กำลังเดินอยู่บนรันเวย์ก็ปรากฏขึ้นในฉากหนังไปพร้อมๆ กัน
“คอลเล็กชั่นนี้พูดถึงองค์ประกอบที่เกี่ยวกับอดีต แต่นำมาเชื่อมโยงเข้ากับปัจจุบันเพื่อถ่ายทอดถึงความเป็นไปในปัจจุบัน” Kris VanAssche กล่าว“มันเป็นช่วงเวลาของยุคแห่งความร่วมสมัย”
|