แพทย์จุฬาฯ เผยเคล็ด (ไม่) ลับ พิชิตภาวะหัวใจล้มเหลว

 

ปัจจุบันมีประชากรทั่วโลกป่วยด้วยภาวะหัวใจล้มเหลว(Heart failure)ประมาณ 26 ล้านคนและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีกประมาณ46%ภายในปี พ.ศ. 2573

 


 

 

            ประชากรทั่วโลกที่ป่วยด้วยภาวะหัวใจล้มเหลวที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 46% ภายในปี พ.ศ. 2573 นี้ จำนวน 1 ใน 5 คน มีอายุมากกว่า 40 ปี จะมีโอกาสเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต และจากข้อมูลผู้ป่วยที่เข้ารักษาตัวด้วยโรคหัวใจล้มเหลว ในศูนย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ พบว่าในปี 2558 มีจำนวน 652 ราย โดยเพิ่มขึ้นจากปี 2557 ประมาณ 45% อันเนื่องมาจากการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนไปของคนไทยทั้งการละเลยต่อคุณภาพอาหาร การออกกำลังกาย การเผชิญกับความเครียด เป็นต้น รวมถึงการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย จึงถือได้ว่าภาวะหัวใจล้มเหลวเป็นปัญหาทางสุขภาพและสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศโดยผู้ป่วยมีอาการได้หลากหลายตั้งแต่อาการน้อยจนถึงอาการมากจึงจำเป็นต้องมีวิธีการรักษาที่หลากหลายตั้งแต่การดูแลตัวเอง (self-care) การรับประทานยา การใส่เครื่องช่วยให้หัวใจทำงานดีขึ้น ไปจนถึงการปลูกถ่ายหัวใจสำหรับผู้ป่วยระยะสุดท้าย

 


 

              ด้วยเล็งเห็นถึงภารกิจการช่วยเหลือผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวให้สามารถต่อสู้กับสภาวะของโรคและดำเนินชีวิตได้ตามปกติมากขึ้นเป็นภารกิจสำคัญ คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงได้จัดการประชุม Chulalongkorn Heart Failure Scientific Meeting 2016 ขึ้นเมื่อเร็วๆนี้เพื่อเผยแพร่ความรู้และวิทยาการเทคโนโลยีใหม่ๆในการรักษาผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว สำหรับนำไปประยุกต์ใช้ในการประเมินอาการการดูแลผู้ป่วยที่เหมาะสม และสามารถส่งผู้ป่วยมารักษาต่อยังโรงพยาบาลตติยภูมิได้อย่างถูกต้อง พร้อมนำเสนอศักยภาพของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และทีมงานในการดูแลผู้ป่วยปลูกถ่ายหัวใจและการใส่เครื่องช่วยพยุงหัวใจชนิดแวด (Ventricular assisted device)ซึ่งมีแพทย์ในสาขาโรคหัวใจและหลอดเลือด รวมถึงบุคลากรทางการแพทย์ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจสนใจเข้าร่วมการประชุมเป็นจำนวนมากนอกจากนี้ยังได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ นายแพทย์ เรนเดลล์ ซี สตาร์ริ่ง(Professor Randall Starling) หัวหน้าสาขาภาวะหัวใจล้มเหลวและการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ ประจำสถาบันCleveland clinic ณ รัฐโอไฮโอ ประเทศสหรัฐอเมริกา และเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาของผู้ได้รับทุนโครงการเยาวชนรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลประจำปี 2556มาร่วมบรรยายอีกด้วย

 


 

                ผู้ช่วยศาสตราจารย์ แพทย์หญิงศริญญา ภูวนันท์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านภาวะหัวใจล้มเหลวและอายุรศาสตร์การปลูกถ่ายหัวใจ ภาควิชาอายุรศาสตร์หัวใจและหลอดเลือด คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประธานผู้จัดการประชุม กล่าวว่าภาวะหัวใจล้มเหลวเป็นกลุ่มอาการซึ่งมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของการทำงานของหัวใจจนหัวใจมีความอ่อนแรงและไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายได้ตามที่ต้องการสาเหตุที่พบบ่อยได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ  โรคลิ้นหัวใจ โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ (myocarditis) โรคความดันโลหิตสูง หรือ โรคกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรงโดยไม่ทราบสาเหตุ (Cardiomyopathy) เป็นต้นซึ่งผู้ป่วยแต่ละรายจะมีอาการและการดำเนินโรคที่แตกต่างกัน ส่วนมากผู้ป่วยมักมีอาการคั่งของน้ำที่เป็นส่วนประกอบของเลือดตามอวัยวะต่างๆ เช่น ปอดทำให้ผู้ป่วยมีอาการหายใจเหนื่อย หอบ นอนราบไม่ได้ หรือต้องตื่นขึ้นมานั่งเป็นพักๆ  ขาผู้ป่วยอาจมีอาการขาบวม และ ตับหรือทางเดินอาหารผู้ป่วยอาจมีอาการจุกแน่น คลื่นไส้อาเจียน เป็นต้น

 


 

               อย่างไรก็ตามการรักษาภาวะหัวใจล้มเหลวที่ประสบความสำเร็จ จนผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันได้ และมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น ต้องอาศัยความร่วมมือที่ดีระหว่างทีมแพทย์และพยาบาลกับผู้ป่วยโดยผู้ป่วยต้องสามารถดูแลตัวเอง(self-care)ได้ด้วยการปฏิบัติตัวอย่างเคร่งครัด อันเป็นกุญแจสำคัญทำให้สามารถควบคุมภาวะหัวใจล้มเหลวได้ดี ไม่มีอาการแทรกซ้อนและไม่ต้องนอนโรงพยาบาล ดังนี้

การงดเค็ม เนื่องจากอาหารที่เค็มจะทำให้ผู้ป่วยมีภาวะน้ำคั่งและอาการแย่ลงเร็ว 

การชั่งน้ำหนัก ควรทำเป็นประจำทุกวันในเวลาที่ใกล้เคียงกันและเครื่องชั่งเครื่องเดียวกัน เพราะน้ำหนักเป็นตัวชี้วัดภาวะน้ำคั่ง หรืออาการหอบเหนื่อยที่กำลังมาเยือน หากว่าน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นเร็วที่ตนเองจะต้องรีบพบแพทย์หรือโทรรายงานแพทย์หรือพยาบาลทันที

การรับประทานยาผู้ป่วยจำเป็นต้องเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของยาที่รับประทานอย่างละเอียดพร้อมรับประทานยาอย่างเป็นประจำตามที่แพทย์แนะนำ

การออกกำลังกายผู้ป่วยจำเป็นต้องการออกกำลังกายอย่างถูกวิธีอย่างเบาๆ ไม่หักโหม และภายใต้คำแนะนำของแพทย์อาทิ การเดินเร็ว การขี่จักรยาน การว่ายน้ำ เป็นต้น โดยต้องไม่ลืมการเตรียมพร้อมร่างกาย (Warm up) ในทุกครั้งก่อนการออกกำลังกาย และหยุดพักทันทีหากเริ่มมีอาการเหนื่อย หอบ แน่นหน้าอก

 


 

          “กรณีที่ผู้ป่วยทำการรักษาด้วยวิธีการต่างๆ ตั้งแต่การรับยา การทำบอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจ การใช้เครื่องมือ อาทิ การใส่เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจเพื่อให้กล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวประสานงานดีขึ้นCardiac Resynchronization Therapy (CRT), การใส่เครื่องกระตุกไฟฟ้าชนิดฝัง (Implantable Cardioverter Defibrillator ; ICD) เป็นต้น แต่ผู้ป่วยยังไม่มีอาการที่ดีขึ้น แพทย์จะต้องพิจารณาสู่วิธีการรักษาขั้นสุดท้ายด้วยการปลูกถ่ายหัวใจซึ่งนำหัวใจของผู้ที่ภาวะสมองตายสมองไม่ทำงานเนื่องจากมีเลือดออกในสมองแล้วนำมาเย็บต่อกับเส้นเลือดของผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวเพื่อทำให้หัวใจกลับมาเต้นทำงานปกติแทนที่หัวใจที่ล้มเหลว ภายหลังการปลูกถ่ายฯ ผู้ป่วยยังต้องรับยากดภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันมาต่อต้านหัวใจที่ถูกนำมาปลูกถ่ายทั้งนี้การปลูกถ่ายหัวใจจะสามารถทำให้ผู้ป่วยมีอัตราการรอดชีวิตเฉลี่ยอยู่ที่ 70-80 %ผู้ป่วยส่วนใหญ่จึงมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้เช่นเดิมหรือใกล้เคียงเดิม ทั้งนี้โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ นับเป็นสถาบันที่ทำการปลูกถ่ายหัวใจมากที่สุดในประเทศไทยในขณะนี้ มีจำนวนมากกว่า 100 ราย ตั้งแต่ก่อตั้งจนถึงปัจจุบัน”ผศ. พญ.ศริญญา กล่าวเพิ่มเติม

 

 

 

 

More
มารู้จักเนื้องอกต่อมไทมัสที่มีคนไทยมีโอกาสเป็นหนึ่งในล้าน
รู้จัก “โรคติดเชื้ออาร์เอสวีในผู้ใหญ่” ภัยเงียบที่อันตรายถึงชีวิต
โรงพยาบาลรามาธิบดี บูรณาการความร่วมมือทางการแพทย์ เผยผลสำเร็จการปลูกถ่ายไตด้วยหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด ครั้งแรกในอาเซียน
ลาก่อน นอนกรน!! นวัตกรรมรูปแบบใหม่ เลเซอร์รักษานอนกรน
สัปดาห์สร้างเสริมภูมิคุ้มกันโลก รณรงค์การสร้างภูมิคุ้มกันโรคในผู้ใหญ่
Others
เทรนด์ใหม่ช่วยให้ดวงตากลมโตสวยงาม จาก KATE TOKYO
ไอคอนสยามจัดเตรียมความพร้อมยกระดับมาตรฐานความปลอดภัย ในงาน Amazing Thailand Countdown 2024 สูงสุดตามระดับสากลเพื่อเสริม...
กินผักสลัด “ไฮโดรโปนิกส์” สดๆในฟาร์มปลูกเอง @ ร้าน My Home
“โซลวาซู”ฉลอง First Care Activating Serum EX ครบรอบ 20 ปี แนะนำรุ่น Limited Edition พร้อม มาส์ก “First Care Activating...
Misty Mynx ‘The Mynx Spirit’ Collection Autumn/Winter 2015
Latest
BeOnCloud จัดงานอย่างยิ่งใหญ่ใจกลางกรุงที่ Gaysorn Amarin เพื่อประกาศหลากหลายโปรเจกต์ของค่ายที่จะเกิดขึ้นในเร็ว ๆ นี้
APEX Medical Centerเตรียมจัดงานใหญ่ ครบรอบ 28 ปี พร้อมดึง “มีน-พีรวิชญ์” มาแชร์ประสบการณ์การดูแลตัวเอง
ททท. จับมือ ฮาล์ฟ โทสท์ ชวนฟิน เต็มอิ่มผ่านเสียงเพลง ในงาน Why Festival Carnival Charity เทศกาล "เขา มันส์ ได้!" ที่ สว...
“FAB” ฟู้ดโฮดิ้ง ธุรกิจน้องใหม่จาก “เบียร์ ใบหยก” และ 2 พันธมิตรดัง
สร้างสรรค์เมนูของว่างแสนอร่อย ด้วยน้ำผักผลไม้แท้ จาก เนเจอร์ เซ็นเซชั่น

 

 

Top Hits
Za DEEP HYDRATION ผิวเปล่งปลั่งอิ่มน้ำมีประกาย สวยตั้งแต่วินาทีนี้
ลดอาการปวดเมื่อยด้วย “ท่านอนที่ถูกวิธี”
“พีพี กฤษฏ์” ขึ้นแท่นพรีเซนเตอร์นมพิสทาชิโอแบรนด์ ซันคิสท์ แบรนด์ระดับโลก พร้อมร่วม ครีเอทเมนูสุดพิเศษด้วยนมพิสทาชิโอที่...
มัดรวมภาพประทับใจจากงาน เนสกาแฟ โกลด์ เครมมา คอลแลปส์ แจ็คสัน หวัง เนรมิต “เดอะ ไฟน์เนส แมนชั่น”
Bruce Jenner ตัดสินใจเป็นผู้หญิงในวัย 65 ปี
10 อันดับอาหารคอเลสเตอรอลสูง
เธอคือใคร? Hailey Baldwin สาวที่ Justin คิสในไอจี