โรคกระดูกพรุน ภัยเงียบที่ค่อยๆเป็น แต่ไม่ค่อยรู้ตัว

 

โรคกระดูกพรุนเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่มีความสำคัญ ต่อประชากรผู้สูงอายุมากที่สุดโดยเพศหญิงจะมีโอกาสกระดูกหักจากโรคนี้มากถึง 30-40%

               องค์การอนามัยโรค (WHO) รายงานว่าโรคกระดูกพรุนเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่มีความสำคัญ ต่อประชากรผู้สูงอายุมากที่สุดโดยเพศหญิงจะมีโอกาสกระดูกหักจากโรคนี้มากถึง 30-40%แต่ในขณะ เดียวกันเพศชายจะมีโอกาสเพียงแค่ 13%เท่านั้น โรคกระดูกพรุนเป็นโรคที่มีลักษณะมวลกระดูกต่ำนำไปสู่การสึกกร่อนโครงสร้างระดับจุลภาคของเนื้อเยื่อของกระดูกที่ทำให้เกิดภาวะกระดูกเปราะและหักง่ายจากอุบัติเหตุแค่เพียงเบาๆ โรคนี้พบมากที่สุดในผู้สูงอายุ ตั้งแต่ 60-80 ปี และ 2 ใน 3 ที่มีอายุมากกว่า 80 ปี โดยภาวะกระดูกพรุนในระยะแรกมักจะไม่แสดงอาการใดๆออกมาให้เห็นแต่จะมีเพียงแค่ความเสี่ยงที่จะเกิดกระดูกหักได้ง่ายเท่านั้น  ส่วนที่พบการหักได้บ่อย  คือ  แขน  สะโพก  ไหล่  กระดูกสันหลัง  และข้อมือ  การหักของกระดูกสันหลังอาจไม่มีอาการปวดในระยะแรก  แต่อาจทำให้ความสูงลดลง  และมีอาการปวดตามมา  รวมถึงเกิดภาวะทุพพลภาพได้  ผลกระทบจากกระดูกสะโพกหัก  ผู้ป่วยจะไม่สามารถเดินได้ต้องนอนบนเตียงเป็นเวลานาน ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับ รวมไปถึงผู้ป่วยจะต้องได้รับการดูแลในระยะยาวและมีแนวโน้มในการเสียชีวิต

 


 

                  นายแพทย์วรัท  ทรรศนะวิภาส แพทย์ด้านโรคข้อและกระดูกโรงพยาบาลพระรามเก้ากล่าวว่าโรคกระดูกพรุนเป็น“ภัยมฤตยูเงียบ”ที่มีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ทุกวินาทีจะมีการทำลายกระดูกช่วงวัยหนุ่มสาวนั้นการสร้างกับการทำลายจะเท่าๆ กัน แต่เมื่ออายุมากขึ้นตัวทำลายก็จะมีมากกว่าตัวสร้างทำให้เกิดภาวะกระดูกพรุน จะทำให้กระดูกสันหลังค่อมและหัก  ร่างกายจะเตี้ยลง และเมื่อเกิดอุบัติเหตุกระดูกก็จะหักได้ง่ายที่สำคัญคือจะมีอาการปวดหลังอย่างมากปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคกระดูกพรุนอย่างแรกเลย คือ เชื้อชาติเราพบว่าคนผิวขาวเป็นมากกว่าคนในแถบเอเชีย แต่คนเอเชียจะพบได้มากกว่าคนผิวดำ  ส่วนใหญ่คนผิวดำจะไม่ค่อยมีโรคกระดูกพรุนให้เห็นส่วนเรื่องพันธุกรรมนั้นจะมีส่วนเกี่ยวข้องด้วยเช่นกันตัวอย่าง เมื่อแม่เป็น  ลูกเป็น  แม่เคยกระดูกหักลูกก็จะกระดูกหัก ในเรื่องของอายุนั้นมีผลเกี่ยวข้องกันอย่างแน่นอนเมื่ออายุ 65 ปีจะก้าวเข้าสู่ภาวะกระดูกพรุน  หรือผู้หญิงหลังจากหมดประจำเดือนไปแล้ว 5 ปี ผู้หญิงมักเป็นโรคกระดูกพรุนได้มากกว่าผู้ชาย พบในคนผอมเป็นมากกว่าคนอ้วน  เพราะว่าไขมันมีเอสโตเจนช่วยซ่อมแซมกระดูกพรุน  เช่นเดียวกับผู้หญิงที่ตัดมดลูกรังไข่  เมื่อถูกตัดก็ไม่มีเอสโตรเจนหรือเป็นโรคต่อมไทรอยด์  เป็นโรคพุ่มพวง  หรือพวกโรคไตเรื้อรัง 

 


 

               นอกจากนี้ยาก็มีผลต่อโรคกระดูกพรุนได้เช่นกัน  ยาสเตอรอยด์ (steroid) ทุกชนิด  ยาขับปัสสาวะ  ยากันชัก  เป็นต้นวิธีการป้องกันโรคกระดูกพรุนคือการเร่งสร้างและสะสมมวลกระดูกให้แข็งแรงตั้งแต่วัยเด็กให้คำแนะนำในการรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่  ได้รับปริมาณที่เหมาะสมโดยเฉพาะกลุ่มผักใบเขียว  กินแคลเซียมและวิตามินดี  เช่น นมเป็นสารอาหารที่ให้แคลเซียม  เด็กๆควรดื่มนมอย่างน้อยวันละ 2 แก้ว (500ซีซี) จนถึงวัยหนุ่มสาว  เพื่อเพิ่มมวลกระดูกให้สะสมมาก  ควรออกกำลังกายเพียงพอและสม่ำเสมอ  หยุดสูบบุหรี่  ลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และปรึกษาหาคำแนะนำเพิ่มเติมในการป้องกันจากแพทย์ผู้ใหญ่ควรได้รับแคลเซียม วันละ 800 – 1,000 มก. หากเป็นหญิงวัยหมดประจำเดือนควรได้รับแคลเซียม วันละ 1,500 – 2,000 มก. และสำหรับผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ควรได้รับแคลเซียมวันละ 800 – 1,000 มก. นั่นหมายถึงวัยผู้ใหญ่กินนมประมาณ 500 มิลลิลิตรต่อวันหากกลัวอ้วน อาจเปลี่ยนเป็นนมพร่องมันเนยหรือเนย  แต่หากแพ้นมวัวสามารถใช้นมถั่วเหลืองแทนได้ โดยรับประทานในปริมาณที่มากขึ้นเพราะนมถั่วเหลืองมีแคลเซียมน้อยกว่านมวัว สำหรับกรณีที่ไม่สามารถรับประทานได้  ควรเลือกกินอาหารที่มีแคลเซียมมาก  เช่น  ปลาตัวเล็ก  กุ้งแห้ง ผักใบเขียว  นอกจากดื่มนมแล้วแพทย์ยังแนะนำให้ออกกำลังกายเพื่อช่วยให้กระดูกแข็งแรงอีกทางเลือกหนึ่งการออกกำลังกาย  ถือเป็นปัจจัยในการเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูก  ยิ่งเราออกกำลังกายเสริมสร้างกล้ามเนื้อได้สม่ำเสมอมากเท่าไหร่  กล้ามเนื้อจะเป็นตัวช่วยอย่างดีในการกระชับข้อต่อและกระดูกต่างๆ ให้แข็งแรง  แพทย์ย้ำอีกว่าควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและเน้นเรื่องออกกำลังกายแบบแอโรบิคที่เหมาะสม  อย่างน้อยครั้งละ 30 นาที  ทำให้ได้วันเว้นวัน หรือ อาทิตย์ละ 3 วัน  โดยมีวันพักระหว่างช่วง 3 วันที่ออกกำลังกายผู้สูงอายุผู้ที่มีกระดูกบางหรือแม้กระทั่งผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนก็สามารถออกกำลังกายได้เช่นกัน แต่สิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้คือ ควรรับวิตามินดี ให้พอเพียง  เพราะวิตามินดีช่วยในการดูดซึมแคลเซียมและนำแคลเซียมไปสร้างกระดูก  ร่างกายควรได้รับแสงแดดอ่อนๆ ในช่วงเช้าหรือช่วงเย็น ประมาณ 10 – 15 นาที  เพราะผิวหนังก็สามารถสร้างวิตามินดีจากแสงแดดได้เช่นกันควรหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุนได้แก่  การสูบบุหรี่และการดื่มสุรา งดซื้อยาทานเอง  เช่น  ยาลูกกลอนที่มีสเตอรอยด์ผสมอยู่ สำหรับขั้นตอนในการรักษาอาการโรคกระดูกพรุนในปัจจุบัน  คือ  การหยุดยั้งการสูญเสียมวลกระดูกและรักษาอาการกระดูกหัก  วิธีที่ดีที่สุด  คือ  การรับประทานแคลเซียม 1,200 – 1,500 มก.  ต่อวันทานอาหารให้ครบ 5 หมู่  ควรเสริมวิตามิน D ให้ร่างกายได้รับ 800 – 1,200 หน่วยสากลต่อวัน  หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ  เช่น  เดิน  วิ่ง  หรือ ปั่นจักรยาน  หลีกเลี่ยงการรับประทานยาที่ทำให้ง่วงนอน  ควรอาศัยอยู่ในบ้านที่มีแสงสว่างเพียงพอเพื่อป้องกันเกิดอุบัติเหตุ เช่าการหกล้มเป็นต้น

              แม้ว่าในปัจจุบันจะมียาหลายชนิดที่ใช้ในการรักษาโรคกระดูกพรุน  ยารับประทานบางชนิดเป็นยาเสริมสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจน  เมื่อใช้แล้วจะมีภาวะเสี่ยงต่อมะเร็งเต้านมและมะเร็งเยื่อบุมดลูกมากขึ้น  หรือยาบางชนิดถูกสังเคราะห์ขึ้นมาลดการทำลายมวลกระดูก ได้แก่Antirespontive drugs เช่นBisphosphonate (oral and injection), Strontium Ranelateและ Denusumabโดยมีคุณสมบัติสามารถลดการสูญเสียมวลกระดูกและลดอุบัติการณ์ของกระดูกเปราะหักได้ ยาอีกประเภทหนึ่งซึ่งเพิ่มมวลกระดูก คือ ยา Anabolic Hormone ได้แก่ PTH  ซึ่งต้องบริหารด้วยการฉีดทุกวัน  อย่างไรก็ดียาเหล่านี้ต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด 

           “ภัยมฤตยูเงียบอันนี้อุปมาเหมือนเป็นความดันโลหิตสูง  ไม่รักษาและป้องกันอาจส่งผลให้เป็นอัมพฤกษ์อัมพาตได้โรคกระดูกพรุนก็เป็นภาวะภัยเงียบที่ค่อยๆ เป็นแล้วไม่ค่อยรู้ตัว”และเกิดผลเสียต่อกระดูก คือ กระดูกหักทั้งส่วนกระดูกสันหลัง และสะโพก  ส่งผลให้คนไข้ทุพพลภาพและเสียชีวิตก่อนวัยอันควร

 

 

 

 

More
ตาพร่ามัว...อย่าชะล่าใจ หมอตาเตือนคนวัยทำงานอายุ 30+ ระวังเบาหวานขึ้นจอตา ภัยเงียบที่คุกคามสายตาจากโรคเบาหวาน
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการผ่าตัดรักษาโรคอ้วน โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ประสบความสำเร็จในการรักษาโรคอ้วนทุพพลภาพ สกัดโรคเรื้อรั...
รพ.สมเด็จพระยุพราชปัว จ.น่าน เปิดให้บริการศูนย์ผ่าตัดผ่านกล้องเฉพาะทางและผ่าตัดส่องกล้องรักษาโรคอ้วน
เนสท์เล่เผยเทคนิคดูแลน้ำหนักตัวอย่างยั่งยืน คุมอาหารแบบแฮปปี้ กินได้ไม่ต้องอด
GSK เปิดผลสำรวจพบคนจำนวนมากขาดความรู้เกี่ยวกับ ‘ไวรัสอาร์เอสวี (RSV)’ ทั้งที่เป็นไวรัสที่อันตรายต่อสุขภาพของผู้สูงอายุ
Others
ยูนิโคล่ ร่วมกับ โรเจอร์ เฟเดอเรอร์ และ KAWS เปิดตัว Around the World with Roger Federer
เปิดตัวแคมเปญใหม่ ให้คนไทยหันมาใส่ใจสุขภาพดวงตา : ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสูตรเฉพาะสำหรับดวงตา
แมคโดนัลด์ ส่ง WcDonald’s จากโลกอนิเมะ สู่โลกจริง พร้อมเสิร์ฟความอร่อยสุดคูลกับ ชุด “WcDonald’s All Star Set” จัดเต็มแพ...
สมุนไพรรักษาโรคริดสีดวงทวาร ตามศาสตร์แพทย์แผนจีน
ชมพู่-อารยา เอ ฮาร์เก็ต รับเป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์ผลิตภัณฑ์ปรับผ้านุ่มคอลเลคชั่นน้ำหอมอัพเกรดใหม่
Latest
รับมือข่าวลวง! สังคมออนไลน์ทำคนลังเลฉีดวัคซีน เร่งเสริมความรู้ ป้องกันภัยข้อมูลเท็จ
คิง เพาเวอร์ ต้อนรับเทศกาลแห่งความสุขส่งท้ายปี เปิดแคมเปญ “THE POWER OF FUNTASTIC CELEBRATION 2025” ฉลองทุกความสุข สนุ...
ยูนิโคล่ จับมือ อันยา ไฮนด์มาร์ช ร่วมสร้างสรรค์ผลงานความสนุกสนาน ครั้งแรกในไทย กับคอลเลคชัน UNIQLO x ANYA HINDMARCH Win...
CDC ฉลองใหญ่ครบรอบ 15 ปี “CDC 15th Anniversary Golf Day” ชูบรรยากาศกอล์ฟสุดพิเศษ รวมตัวพ่อตัวมัมแวดวงธุรกิจ-การออกแบบกร...
“คิง เพาเวอร์” ขยายอาณาจักรค้าปลีกสู่ใจกลางเมือง เปิดตัวแบรนด์ใหม่ “คิง เพาเวอร์ ซิตี บูทีก” ที่สุดแห่งประสบการณ์ช้อปมิต...

 

 

Top Hits
“พีพี กฤษฏ์” ขึ้นแท่นพรีเซนเตอร์นมพิสทาชิโอแบรนด์ ซันคิสท์ แบรนด์ระดับโลก พร้อมร่วม ครีเอทเมนูสุดพิเศษด้วยนมพิสทาชิโอที่...
Za DEEP HYDRATION ผิวเปล่งปลั่งอิ่มน้ำมีประกาย สวยตั้งแต่วินาทีนี้
มัดรวมภาพประทับใจจากงาน เนสกาแฟ โกลด์ เครมมา คอลแลปส์ แจ็คสัน หวัง เนรมิต “เดอะ ไฟน์เนส แมนชั่น”
ลดอาการปวดเมื่อยด้วย “ท่านอนที่ถูกวิธี”
Bruce Jenner ตัดสินใจเป็นผู้หญิงในวัย 65 ปี
“เก้า - สุภัสสรา” ชวนช้อปสนุกสุดฟิน กับบัตรเครดิต เซ็นทรัล เดอะวัน สิทธิพิเศษเหนือระดับ ครอบคลุมทุกไลฟ์สไตล์ ที่ศูนย์กา...
10 อันดับอาหารคอเลสเตอรอลสูง